นายกรับ5ข้อส.อ.ท. ชงแก้บาทแข็งจ่อคุยคลัง-ธปท.

นายกรับ5ข้อส.อ.ท. ชงแก้บาทแข็งจ่อคุยคลัง-ธปท.

นายกรับ5ข้อส.อ.ท. ชงแก้บาทแข็งจ่อคุยคลัง-ธปท.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นข้อเสนอ 5 มาตรการ ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา หลังการส่งออกได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า พร้อมกันนี้ นายพยุงศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมา 4 เดือนแล้ว หากรัฐบาลยังไม่เร่งแก้ไข หวั่นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายกลาง และอาจจะส่งผลกระทบยาวไปถึงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 นอกจากนี้ ยังอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในหลายๆ ด้าน ให้มีความผสมผสานกัน ไม่ควรดูแลแค่ปัญหาเงินเฟ้ออย่างเดียว แต่ควรดูแลในเรื่องของเงินทุนไหลเข้ามา รวมถึง อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ย้ำว่า ข้อเสนอที่ผู้ประกอบการต้องการ คือ ให้ค่าเงินบาทเทียบเคียงกับประเทศคู่แข่ง และให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากกว่า เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ถ้าหากปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ประกอบการภาคเอกชนเองก็ไม่สามารถแบกรับได้ ด้าน นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณในข้อห่วงใย และจะส่งข้อความทั้งหมดไปให้กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และส่วนตัวมีความกังวลในการไหลเข้ามาของเงินทุนบางส่วน ที่อาจจะเข้ามาเก็งกำไรมากกว่าที่จะเข้ามาลงทุนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม จะติดตามการแก้ไขปัญหานี้อย่างใกล้ชิด และหากยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็อาจจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไขต่อไป สอท.เผยต้องการให้นายกฯมาดูแลค่าเงินบาทนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยภายหลังเข้าพบ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บูรณาการการทำงาน ระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยภาคเอกชน ต้องการให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. นัดประชุมพิเศษ เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด เพราะมองว่าปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวนและไม่เป็นปกติ และให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง แต่หากการปรับลดร้อยละ 1 อาจจะมีผลกระทบรุนแรง ก็อาจจะปรับลดลงบางส่วนได้ และใช้มาตรการควบคู่กับมาตรการภาษีของกระทรวงการคลัง เพื่อให้เป็นยาแรงในการสกัดกั้นการเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติ เพราะขณะนี้แนวโน้มค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าได้อีก หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 จะทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในเอเชีย ทำให้ค่าเงินของประเทศในเอเชียแข็งค่าขึ้นอีกได้ และอาจต้องใช้เวลา 1 - 2 สัปดาห์ ในการพิจารณาผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป และท่าทีในการแก้ไขปัญหาค่าบาท ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากยังไม่มีความคืบหน้า จะหารือกับสมาชิกอีกครั้ง เพื่อกำหนดความเคลื่อนไหวต่อไปทั้งนี้ ยอมรับ หากค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่เฉลี่ยอยู่ในระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้เป้าการส่งออกในปีนี้ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 4 - 4.5 เท่านั้น และจะเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 - 3 ของปี เนื่องจากผู้ส่งออกไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายสินค้าได้อย่างชัดเจน เพราะค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook