อดีตส.ว.จี้ดำเนินคดีผู้ถือสัมปทานโรงโม่หิน

อดีตส.ว.จี้ดำเนินคดีผู้ถือสัมปทานโรงโม่หิน

อดีตส.ว.จี้ดำเนินคดีผู้ถือสัมปทานโรงโม่หิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อดีต ส.ว. จี้เร่งดำเนินคดีอาญาโรงโม่หินถล่ม ผู้ถือใบอนุญาตจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ชี้ ทำไมเจ้าหน้าที่ไม่สั่งปิด ต้องดูด้วยว่าละเว้นหรือไม่

นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว. และนักกฎหมาย เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. กรณีกรณีโรงโม่หินถล่มที่ จ.เพชรบุรี ซึ่งยังไม่มีการดำเนินการทางกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องรอพบศพคนงานทั้งหมดก่อนว่า การดำเนินคดีเรื่องนี้มี 2 ส่วน ส่วนแรกคือการดำเนินคดีอาญา ไม่จำเป็นต้องมองเรื่องกฎหมายอื่น สิ่งที่ต้องดูคือมีคนเจ็บตายหรือไม่ แล้วเป็นการกระทำด้วยความประมาท หรือเจตนา เมื่อมีการร้องทุกข์ หรือพนักงานสอบสวนรู้ว่ามีการกระทำผิด ก็ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวน อย่างน้อยคนที่ต้องรับผิดชอบคือ คนถือใบอนุญาต สามารถเรียกมาแจ้งข้อหาได้แล้ว ส่วนที่อ้างว่า เวลาที่เกิดเหตุไม่ใช่เวลาราชการและสาเหตุเกิดจากธรรมชาตินั้น ไม่สามารถอ้างได้ เพราะมีคนเจ็บตาย จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้

ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อม มีกฎหมายเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งจะบอกเลยว่า ใครที่ต้องรับโทษอย่างไรบ้าง ตามกฎหมายกรมแรงงาน และกรมทรัพยากรธรณี จะระบุเงื่อนไขเลยว่า จะต้องทำอย่างไร ดูแลความปลอดภัยอย่างไร ซึ่งแม้จะมีการเตือน 2 ครั้งแล้ว จากเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ต้องดูเจ้าหน้าที่ด้วยว่า เจตนาของเจ้าหน้าที่ละเว้นหน้าที่โดยการไม่สั่งปิดหรือไม่  ส่วนผู้เสียชีวิตเป็นต่างด้าวนั้น ยิ่งจะเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีไม่ได้ ต้องขยายผลไปถึงการตรวจสอบการใช้แรงงานว่าถูกกฎหมายหรือไม่ด้วย

นายวรินทร์ ยังกล่าวว่ากรณีเหมืองหินถล่ม ที่ จ.เพชรบุรี ว่า การเอาผิดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ ความผิดทางอาญา ที่กระทำโดยประมาท ส่งผลให้บุคคลอื่นเจ็บหรือตาย ซึ่งประเด็นนี้พนักงานสอบสวนสามารถนำผู้ถือใบประกอบการมาลงโทษได้ ส่วนประเด็นที่ 2 คือ ในตัวกฎหมายจะชี้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำผิดบ้าง ดังนั้น ตามกฎหมายของกรมแรงงาน และกรมทรัพยากรธรณี เรื่องการทำเหมืองจะมีเงื่อนไขในการทำงาน หากไม่ดำเนินการตามจะทำการตักเตือน และสั่งงดใช้ใบอนุญาต ซึ่งในกรณีนี้ มีการเตือนเกิดขึ้นแล้วถึง 2 ครั้ง ผู้ประกอบการจึงมีความผิดทางอาญา ส่วนเจ้าหน้าที่ จะมีความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่เอาผิดอย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ การกล่าวโทษว่า คนงานเป็นแรงงานต่างด้าว เพื่อปิดสำนวนคดีนั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะต้องมีการขยายผลถึงที่มาของแรงงานว่าถูกต้องหรือไม่ ถึงแม้ว่าญาติของผู้ตายจะไม่เอาเรื่องจากกรณีดังกล่าวก็ตาม


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook