สช.วอนร.ร.เอกชนชะลอขึ้นค่าเล่าเรียน ร.ร.เอกชนชี้เศรษฐกิจทรุดขึ้นตามจำเป็น

สช.วอนร.ร.เอกชนชะลอขึ้นค่าเล่าเรียน ร.ร.เอกชนชี้เศรษฐกิจทรุดขึ้นตามจำเป็น

สช.วอนร.ร.เอกชนชะลอขึ้นค่าเล่าเรียน ร.ร.เอกชนชี้เศรษฐกิจทรุดขึ้นตามจำเป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สช.วอนโรงเรียนเอกชนชะลอขึ้นค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2552 ห่วงพ่อแม่อ่วมหลังเศรษฐกิจทรุดตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้านนายกสภาการศึกษาเอกชน-สมาคมโรงเรียนนานาชาติแจงเจอวิกฤติเศรษฐกิจ ยันขึ้นตามความจำเป็นสอดคล้องกับค่าครองชีพ โรงเรียนเอกชนใดขึ้นค่าเล่าเรียนเกินควรให้ร้อง สช.ตรวจสอบ ใช้อำนาจสั่งลดค่าเล่าเรียน ธรรมเนียมและค่าเทอมจะเป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน แต่ใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มีข้อบัญญัติให้คณะกรรมการ สช.ยับยั้งได้ ถ้าเห็นว่าไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยผลกระทบต่อผู้ขอรับใบอนุญาตเปิดและปิดโรงเรียนเอกชนในรอบปีที่เศรษฐกิจตก ต่ำมีทั้งเปิดและปิด ขณะที่หลักสูตรนอกระบบระยะสั้นประเภทวิชาชีพ อาชีวะและกวดวิชา มีแนวโน้มมากขึ้น เป็นไปตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น นายบัณฑิตย์กล่าวอีกว่า หลักสูตรระยะสั้นที่ขอเปิดเข้ามามากจะเป็นประเภทโรงเรียนบริบาลเลี้ยงดูเด็ก และผู้สูงอายุ เพราะตลาดมีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ ผู้ที่มาเรียนรู้แน่นอนว่าจบแล้วจะไม่ตกงาน ใช้เวลาเรียนไม่มาก นอกจากนี้มีหลักสูตรโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามกระแสของสังคมไทยที่เชื่อถือเรื่องโชคลาง แต่คณะกรรมการที่พิจารณาอนุญาต ได้กำหนดให้เพิ่มเติมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมลงไปในหลักสูตรด้วย ผอ. สช.กล่าวถึงนโยบายรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เอกชนร่วมจัดการศึกษามากขึ้นว่า สช.เคยจัดระดมความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ครูและผู้บริหารโรงเรียนในเรื่องนี้ มีข้อเสนอว่าถ้ารัฐออกคูปองการศึกษาให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนที่ไหนก็ได้ จำนวนเด็กที่จะเข้าโรงเรียนเอกชนจะมีเพิ่มขึ้น เพราะมาตรฐานของเอกชนไม่แพ้ของรัฐหรือที่อื่นๆ ยกเว้นโรงเรียนสาธิต นอกจากนี้ควรจัดสรรเงินในกองทุนเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการศึกษาโรงเรียนใน ระบบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโรงเรียนเอกชนยังมีความต้องการกู้ยืมไปพัฒนาโรงเรียนและส่งเสริม สวัสดิการครู นางจิระพันธุ์ พิมพ์พันธุ์ นายกสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยและ ผอ.โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจาก สช. แต่ทราบเรื่องนี้แล้ว เพราะมีโอกาสพูดคุยกับ ผอ.สช. ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศประมาณ 3,700 แห่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐมีกว่า 3,000 แห่ง โดยปีการศึกษา 2551 ได้รับเงินอุดหนุนรายหัวของนักเรียนชั้นประถมคนละ 5,828 บาทต่อปี เก็บจากผู้ปกครองได้ไม่เกินคนละ 4,460 บาทต่อปี นักเรียนชั้น ม.ต้น คนละ 8,179 บาทต่อปี เก็บได้ไม่เกินคนละ 3,900 บาทต่อปี และนักเรียนชั้น ม.ปลาย คนละ 8,679 บาทต่อปี เก็บได้ไม่เกินคนละ 3,900 บาทต่อปี และ 2.กลุ่มโรงเรียนเอกชนที่ไม่รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐ มีโรงเรียนนานาชาติประมาณ 100 แห่ง โรงเรียนเปิดสอนสองภาษา (อีพี) กว่า 100 แห่ง และโรงเรียนเอกชนกว่า 10 แห่ง โดยโรงเรียนกลุ่มนี้เก็บค่าเล่าเรียนแบบลอยตัว นางจิระพันธุ์ กล่าวอีกว่า ค่าเล่าเรียนของโรงเรียนเอกชนแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1.ค่าเล่าเรียนที่เป็นค่าเทอม ซึ่งกลุ่มโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐจะเก็บได้ไม่เกินเพดาน ที่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนดไว้ และ 2.ค่าเล่าเรียนที่เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเรียนภาษาอังกฤษ ค่าสระว่ายน้ำ ค่ารถโรงเรียน ค่าอาหาร เป็นต้น เมื่อเร็วๆ นี้ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนต่างๆ ได้หารือกันเรื่องการขึ้นค่าเล่าเรียน โดยไม่มีการตกลงกันว่าจะขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ขอให้มี แต่ละโรงเรียนมีเกณฑ์ในการขึ้นค่าเล่าเรียน เพื่อจะได้ชี้แจงต่อผู้ปกครองและ สช.ได้ และต้องแจ้งผู้ปกครองให้ทราบล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม รวมทั้งสภาการศึกษาเอกชนฯ ได้ส่งจดหมายถึงโรงเรียนเอกชนขอให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และเก็บค่าเล่าเรียนจากผู้ปกครองตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ เพื่อไม่ให้ผู้ปกครองต้องเดือดร้อน "คาดว่าโรงเรียน เอกชนส่วนใหญ่คงขึ้นค่าเล่าเรียน 10-12% แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละโรงเรียน บางโรงเรียนอาจจะถึง 25% ถ้าสูงกว่านี้ก็คิดว่ามากเกินไป แต่โรงเรียนเอกชนต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา คงขึ้นค่าเล่าเรียนยาก เพราะผู้ปกครองตกงานเยอะ อย่างไรก็ตาม หากโรงเรียนขึ้นค่าเล่าเรียนมากเกินไป ผู้ปกครองร้องเรียนไปยัง สช.ได้ เพราะมาตรา 32-34 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 กำหนดไว้ว่าไม่ให้โรงเรียนเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นใน ลักษณะแสวงหากำไรเกินควร หากโรงเรียนเอกชนแห่งใดเก็บค่าเล่าเรียนเกินควร สช.ก็ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่า ธรรมเนียมอื่นได้" นางจิระพันธุ์ กล่าว นางจิระพันธุ์กล่าวต่อว่า ในส่วนของโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยานั้น ในปีการศึกษา 2552 จะปรับขึ้นค่าเล่าเรียน 12% เช่น ค่าอาหาร จากเดิม 3,000 บาทต่อเทอม ก็ปรับเพิ่มเป็น 3,400 บาทต่อเทอม และค่ารถโรงเรียน ซึ่งคิดตามโดยระยะทาง ไกลสุดเก็บ 4,000 บาทต่อเทอม ก็จะเพิ่มขึ้น 12% เช่น ระยะทางใกล้สุด 100 บาท ปรับเป็น 112 บาท ซึ่งปรับขึ้นเฉพาะค่าอาหารกับค่ารถโรงเรียนเท่านั้น รวมถึงใช้มาตรการประหยัดและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทยและผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติไอเอส บี จ.นนทบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจาก สช. แต่คาดว่าในปีการศึกษา 2552 โรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่คงขึ้นค่าเทอมไม่เกิน 2-3% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่สูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนจะพิจารณาเอง อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าเทอมต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่ขึ้นค่าเทอมตามใจชอบ จะต้องประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองรับทราบถึงความจำเป็นและเงินทั้งหมด เพื่อนำไปใช้พัฒนานักเรียน ขณะเดียวกันโรงเรียนนานาชาติต่างเตรียมรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจโลกและประเทศ ไทยในปีนี้ ด้วยวิธีประหยัดและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้มีเงินสำรอง " ส่วนโรงเรียนนานาชาติไอเอสบี อาจจะปรับขึ้นค่าเทอม 2-3% จะชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบถึงความจำเป็นและเงินทั้งหมดไม่ได้ไปอยู่ที่ไหน แต่นำมาใช้พัฒนาคุณภาพนักเรียน" นางอุษา กล่าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook