สื่อนอกตีแผ่! ชีวิตแสนเศร้าสวนสัตว์ดังย่านปิ่นเกล้า

สื่อนอกตีแผ่! ชีวิตแสนเศร้าสวนสัตว์ดังย่านปิ่นเกล้า

สื่อนอกตีแผ่! ชีวิตแสนเศร้าสวนสัตว์ดังย่านปิ่นเกล้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวเดลีเมล์ของอังกฤษ ได้นำเสนอบทความที่ตีแผ่เรื่องราวชีวิตของสัตว์กว่า 200 ชนิดในสวนสัตว์บนห้างชื่อดังย่านปิ่นเกล้าของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อนเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และยังเปิดให้บริการเข้าชมจนกระทั่งปัจจุบัน

โบรเนค คามินสกี ช่างภาพชาวอังกฤษ ได้ใช้เวลาเกือบ 2 ปี ในการเก็บข้อมูลและศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ภายในสวนสัตว์ดังกล่าว ตามรายงานระบุว่า ราคาเข้าชมสวนสัตว์ สำหรับชาวต่างชาติ ราคา 200 บาท ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปของท้องถิ่น แต่ภาพที่ปรากฏให้เห็นในสวนสัตว์ค่อนข้างน่าเศร้าไปสักหน่อย

ช่างภาพชาวอังกฤษ ได้เปิดเผยว่า เขาได้เข้าไปชมนกเพนกวินที่เดินเตาะแตะอยู่ในสระน้ำในห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศ ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวของเมืองไทย รวมทั้งไฮโลท์ของสวนสัตว์แห่งนี้ เจ้าคิงคอง และ กอริล่า พวกมันได้แต่นั่งเกาะรั้วกรงเหล็กอยู่แบบนั้นเป็นประจำ

โบรเนค คามินสกี ยังอธิบายอีกว่า ที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสวนสัตว์ที่ไม่น่าอภิรมย์ใจ นับตั้งแต่เขาเคยเห็นมา บรรดาสัตว์ต่างๆ ที่โกรธเกรี้ยวและอยู่ไม่เป็นสุข ผิดคาดกับภาพที่เคยคิดเอาไว้ว่า ที่นี่น่าจะเป็นสวนสัตว์ที่พอจะถ่ายรูปได้ แต่กลับกลายเป็นภาพสัตว์อยู่ในกรงไม่ใหญ่มาก เนื่องจากพื้นที่สวนสัตว์ค่อนข้างจำกัด

นอกจากนี้ยังมีการแสดงโชว์ของเจ้าลิงและอุรังอุตัง ที่จับพวกมันแต่งตัวใส่เสื้อผ้าและขึ้นโชว์ขี่จักรยานหรือยกน้ำหนัก ซึ่งเป็นการแสดงที่ไม่น่าตื่นตาเท่าไหร่นักและมีผู้ชมจำนวนไม่มาก

ทางด้าน เอ็ดวิน เวียค ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าในประเทศไทย ระบุว่า สวนสัตว์แห่งนี้มีเหตุผลหลายอย่างที่ควรแก่การปิดให้บริการ สัตว์หลายชนิดติดอยู่ในสถานที่คับแคบ แออัด และไม่มีอากาศบริสุทธิ์ อีกทั้งผู้ที่เข้ามาชมก็เข้าใกล้พวกมันจนเกินไป อาจจะทำให้สัตว์เกิดความเครียดได้

สำหรับกรณีสวนสัตว์ชื่อดังย่านปิ่นเกล้าดังกล่าว เคยเป็นเรื่องที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ เมื่อมีการตีแผ่นำเสนอข่าวดังกล่าว เมื่อปี 2553 ซึ่งครั้งนั้นมีหน่วยงานเกี่ยวกับการพิทักษ์และคุ้มครองสัตว์หลายกลุ่ม ออกมากดดันและเรียกร้องให้ทางการของไทย จัดการแก้ไขและช่วยเหลือสัตว์กว่า 200 ชนิดที่สวนสัตว์ดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะขาดความสนับสนุนทางกฎหมายของไทย

Source: DailyMail

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook