วิชาชี้สุภาเหมือนหญิงเหล็กเชื่อให้ปากคำแน่

วิชาชี้สุภาเหมือนหญิงเหล็กเชื่อให้ปากคำแน่

วิชาชี้สุภาเหมือนหญิงเหล็กเชื่อให้ปากคำแน่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรรมการ ป.ป.ช. 'วิชา' เผย 'สุภา' เหมือนเป็นหญิงเหล็ก ไม่ห่วง 'กิตติรัตน์' ตั้งกรรมการสอบ เชื่อ มาให้ถ้อยคำ ป.ป.ช. แน่นอน ขณะ ป.ป.ช. มีมติแพร่ข้อเสนอโครงการจำนำข้าวแทรกแซงตลาด

นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะ คณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการรับจำนำข้าว กล่าวถึง ความคืบหน้าการไต่สวนโครงการรับจำนำข้าวว่า ขณะนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการไต่สวนเรื่องนี้ทุกวัน เพื่อดูว่ามีข้อเท็จจริง หรือยังคงเหลือประเด็นใดที่ต้องการตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ก็ยืนยันว่า ป.ป.ช. ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ป.ป.ช. ก็จะเร่งไต่สวนให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเป็นความตั้งใจของ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ที่ต้องการไต่สวนให้เสร็จทันก่อนจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง ในเดือน ก.ย.นี้

ทั้งนี้ ป.ป.ช. กำลังรอข้อมูลจาก นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ และพบการทุจริตในโครงการดังกล่าว แต่เบื้องต้นยังไม่มีการทำรายงานส่งข้อมูลมายัง ป.ป.ช. เห็นเพียงแต่ให้สัมภาษณ์กับสื่อเท่านั้น ส่วนกรณีที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งคณะกรรมการสอบ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะ ประธานคณะกรรมการคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำข้าวของรัฐบาลนั้น ตนมั่นใจในตัว น.ส.สุภา เพราะถือว่าเป็นหญิงเหล็ก และเชื่อว่าคงมาให้ถ้อยคำที่ ป.ป.ช. อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะเรียกมาให้ถ้อยคำเมื่อไหร่

 

ป.ป.ช. มีมติแพร่ข้อเสนอโครงการจำนำข้าวแทรกแซงตลาด

วันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้มีมติให้เผยแพร่เอกสารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล กับมาตรการป้องกันการทุจริต  ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ส่งถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกี่ยวกับ มาตรการป้องกันการทุจริต โดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 19 (11) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำระบบรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ตันละ 15,000 - 20,000 บาท ว่า เป็นการแทรกแซงราคาตลาดพืชผล เป็นการบิดเบือนกลไลราคา มีข้าวในสต๊อคเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจำนวนมาก ผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมเกษตรกร ดังนั้น จึงควรหันมาใช้ระบบประกันราคา เพื่อลดช่องทางทุจริต โอกาสที่เจ้าหน้าที่รัฐแสวงหาผลประโยชน์มีน้อยกว่า  ขณะเดียวกัน ประชาชนได้ผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและไม่เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook