สมศักดิ์ขยายถกแก้รธน.22สค.ลากยาวจนจบ13มาตรา

สมศักดิ์ขยายถกแก้รธน.22สค.ลากยาวจนจบ13มาตรา

สมศักดิ์ขยายถกแก้รธน.22สค.ลากยาวจนจบ13มาตรา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานรัฐสภา เผย ขยายถกแก้รัฐธรรมนูญ 22 ส.ค. ลากยาวจนครบ 13 มาตรา โดยยังไม่กำหนดกรอบเวลา ขณะที่ประชุมร่วมรัฐสภา ยังคงอภิปราย มาตรา 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ส.ว.

ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ขณะนี้ เป็นการอภิปรายของสมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติในมาตรา 3

โดยก่อนหน้านี้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ว่า การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. จะมีพิจารณาต่อในวันพรุ่งนี้ และพิจารณาจนครบทุกมาตรา โดยไม่มีการกำหนดกรอบเวลา
แต่ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ สภาจะเป็นการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 ในมาตรา 18 ต่อ ซึ่ง
จะต้องพิจารณาให้จบก่อนภายในวันจันทร์ ที่ 26 ส.ค. โดยไม่เกินเวลา 24.00 น. ตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณา พ.ร.บ.การเงิน ให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน โดยมองว่าไม่มีอะไรที่ต้องเป็นกังวล

ทั้งนี้ สำหรับร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานมาจาก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่อย่างใด


ทั้งนี้ การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้ ที่ประชุมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอภิปราย ในส่วนของมาตราที่ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 111 และมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภานั้น โดย นายเกียรติศักดิ์ ส่องแสง ส.ส.ปทุมธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปราย ระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขครั้งนี้ เนื่องจากมองว่า การที่มีการแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยยกเลิกรูปแบบการสรรหาและให้คงไว้เฉพาะการเลือกตั้งนั้น อาจเป็นการทำให้สมาชิกวุฒิสภามีการใช้อำนาจที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรอิสระ ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล

ด้าน พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ สมาชิกวุฒิสภา ระบบสรรหา ได้ขึ้นอภิปรายในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย โดยตั้งคำถาม คณะกรรมาธิการ ว่า การกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน 200 คนนั้น ใช้เกณฑ์มาตรฐานอย่างไร เนื่องจาก ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้น ใช้เกณฑ์การประเมินจากจำนวนประชากรของประเทศ จึงเรียกร้องให้มีการกำหนดจำนวนสมาชิกวุฒิสภาตามหลักวิชาการด้วย


สภายังถกแก้ รธน. มาตรา 3 คาดปิดประชุม 4 ทุ่ม

บรรยากาศการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้ ที่ประชุมยังคงดำเนินการประชุมไปอย่างราบรื่น ไม่มีการประท้วงแต่อย่างใด โดย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปรายตั้งคำถามไปยังคณะกรรมาธิการ ถึงเหตุผลในการแก้ไขกำหนดให้จำนวนสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน 200 คน ซึ่งประเด็นนี้ตนไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการทำให้ สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ มีจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งเป็นฐานเสียงทางการเมืองของพรรครัฐบาล จึงมองว่า น่าจะเป็นการกำหนดเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง และเป็นที่มาของความเร่งรีบของรัฐบาล ที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ที่ต้องการแก้ไขให้ผ่านก่อนที่ สมาชิกวุฒิสภาจะหมดวาระในปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ได้กุมอำนาจครึ่งหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภา และนำมาสู่การผูกขาดทางการเมือง


ด้าน นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล สมาชิกวุฒิสภาระบบสรรหา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ถือเป็นประโยชน์
ต่างตอบแทน ที่ทางการเมือง/พรรคการเมืองต้องการเข้ามาในอำนาจ ในสมาชิกวุฒิสภา และจะเป็นการทำให้เกิดการกินรวบอำนาจต่างๆ เกิดขึ้น หากวุฒิสภาเสียงส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำของรัฐบาล

 

'ส.ว.ไพบูลย์' จี้ รัฐสภา คงที่มา ส.ว.สรรหา

การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามวาระที่ 2 ในขณะนี้ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.ระบบสรรหา ได้อภิปรายตัดร่างแก้ไขในส่วนของมาตราที่ 3 ออกทั้งหมด ซึ่งเป็นการยกเลิก กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 111 และ 112 ที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒสภา โดย นายไพบูลย์ กล่าวเรียกร้องให้ยังคงที่มาของ ส.ว. ในรูปแบบสรรหาไว้ เพื่อให้สามารถถ่วงดุลอำนาจกับสภาผู้แทนราษฎร หรืออำนาจฝ่ายบริหารได้

โดยมองว่า การกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งนั้น จะทำให้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ เปรียบเสมือนมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่มเป็น 700 คน ต่างจาก ประเทศอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ที่แยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างชัดเจน โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกวุฒิสภามาจากการสรรหา พร้อมทั้ง เรียกร้องให้มีการเสนอกฎหมายที่ให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เช่นเดียวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ด้วย

ด้าน นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการ กล่าวชี้แจงว่า การแก้ไข
รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกรณีที่มีการกำหนดให้วุฒิสมาชิกมีจำนวน 200 คนนั้น เป็นไป
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ได้มีการบัญญัติไว้ ส่วนกรณีที่สมาชิกรัฐสภาตั้งคำถามถึง การแก้ไขให้สมาชิก
วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดนั้น เนื่องจาก ต้องการให้เป็นไปตามความศรัทธา ที่มีต่อประชาชนชาวไทย
ตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย โดยยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนส่วนใหญ่ จะถูกพรรคการเมืองเข้า
มาครอบงำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อภายหลัง ประธานกรรมาธิการได้ขึ้นชี้แจ้ง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นใช้สิทธิ์พาดพิงตั้งคำถามไปยัง ประธานกรรมาธิการ ว่า การแก้ไข รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ได้มีการถามความคิดเห็นของประชาชนแล้วหรือยัง


 

------------------------------------------------

สภาถกแก้รธน.วัน2-ผลนอกรอบ3วิปยอม57ส.ส.อภิปราย

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=473918


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook