รัฐสภา ถกแก้ รธน. วุ่น!พัก2รอบโยน3วิปสรุป ม.4

รัฐสภา ถกแก้ รธน. วุ่น!พัก2รอบโยน3วิปสรุป ม.4

รัฐสภา ถกแก้ รธน. วุ่น!พัก2รอบโยน3วิปสรุป ม.4
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตาม วาระ 2 เข้าสู่วันที่ 6 แล้ว ยังอยู่ในมาตรา 4 มีการประท้วงกันอย่างต่อเนื่อง ประธานต้องสั่งพักการประชุมถึง2 ครั้ง ล่าสุด มีมติผ่าน ม.4 ด้วยคะแนน 332ต่อ108 นัดประชุมต่อ4ก.ย.

สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในวันนี้ ซึ่งเข้าของวันที่ 6ของการประชุม ล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของมาตราที่4  ภายหลังเกิดความวุ่นวายอย่างต่อเนื่องจนประธานต้องมีการสั่งพักการประชุมไปถึง 2 ครั้ง

โดยนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา ขณะที่การประชุมตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมามีการประท้วง อย่างต่อเนื่อง เมื่อประธานรัฐสภา  วินิจฉัย ไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภา ได้อภิปรายต่อในส่วนของมาตราที่ 4  เกี่ยวกับการยกเลิก ความตามมาตรา113 และมาตรา114 ซึ่งเป็นบทญัติที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิกคณะกรรมการสรรหาสมาวุฒิสภา เนื่องจากเห็นว่า ที่ประชุมสภาได้มีมติผ่านการพิจารณาในมาตรา 3 ไปแล้ว ในการยกเลิกการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ทำให้มองว่าไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาในส่วนของมาตรา 4 ต่อไป"

เป็นเหตุให้ สส. พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ ประธานรัฐสภา จะปล่อยให้มีการอภิปรายในส่วนของมาตราที่ 4 ไปได้ แต่ความวุ่นวายได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ในช่วงเวลา 12.30 น. เมื่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานรัฐสภาได้ มีการวินิจฉัย การอภิปรายของ นาย ประสงค์ นุรักษ์ ส.ว. สรรหา และการ อภิปรายของ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ขึ้นอภิปราย ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขยกเลิก ในส่วนของมาตรา113 และมาตรา114 แต่ทางประธานรัฐสภากลับได้วินิจฉัย ว่าการอภิปรายดังกล่าวเป็นการขัด ต่อมติที่ประชุมร่วมรัฐสภา ที่ได้มีการเห็นชอบในส่วนของมาตรา 3 ไปแล้ว เป็นเหตุให้ ส.ส. ทางฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงเป็นจำนวนมากอีกครั้ง เนื่องจากมองว่า การดำเนินการวินิจฉัยดังกล่าวนั้นต้องวินิจฉัยด้วยมติของที่ประชุม ว่าการอภิปรายในส่วนมาตราที่ 4 ต่อไปนั้นกระทำได้หรือไม่ ก่อนจะมีการเปิดการประชุมอีกครั้ง ประมาณ 10 นาที ในเวลา 13.45 นาที 


ปธ.รัฐสภาสั่งพักประชุมรอบ 2 ให้วิป 3 ฝ่ายตกลง

บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภา วาระ 2 วันที่ 6 ล่าสุดที่ประชุมได้กลับมาประชุมอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 3 โดยก่อนหน้านี้ ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ได้กลับมาประชุมกันอีกครั้ง หลังจาก นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา สั่งพักการประชุมในครั้งแรก แต่ที่ประชุมยังมีการโต้เถียงกัน ระหว่าง ส.ส. รัฐบาล และฝ่ายค้าน ว่าควรจะอภิปรายในมาตรา 4 หรือไม่

ซึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอให้ที่ประชุมรัฐสภา ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อที่ 102 และตามประเพณีปฏิบัติ ที่ต้องให้โอกาสผู้สงวนคำแปรญัตติ ต้องมีสิทธิ์ได้อภิปราย แม้จะเป็นรายละเอียดที่อาจจะขัดกับมติในมาตรา 3 แต่อาจจะมีบางความเห็นที่เป็นประโยชน์ ประธานรัฐสภา จึงได้สั่งพักการประชุ เป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้วิป 3 ฝ่าย ไปดำเนินการตกลง ว่าจะมีผู้อภิปรายอีกจำนวนกี่คน ทั้งนี้ หลังจากพักการประชุมเป็นเวลา 20 นาที ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย มีมติให้อภิปรายต่อ แต่ต้องดำเนินการตามข้อบังคับ ที่ประชุมจึงกลับมาประชุมกันอีกครั้ง

 

ส.ส.ส.ว. สลับกันลุกขึ้นอภิปราย ม. 4 ต่อเนื่อง

บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเรื่องที่มาของ ส.ว. ล่าสุด บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ต่างสลับกันลุกขึ้นอภิปราย ในมาตราที่ 4 กันอย่างต่อเนื่อง ภายหลังที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานในที่ประชุม ยอมเปิดโอกาสให้ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายจนจบ ทำให้ไม่มีการประท้วงจาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เกิดขึ้น

หลังจากนั้น นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ลุกขึ้นอภิปราย ว่า ขอแปรญัติตัดมาตราที่ 4 ออก เนื่องจากส่วนตัวมีความเป็นห่วงว่า หากมีการยกเลิกมาตรา 114 และ 115 โดยไม่คำนึงถึงสาระสำคัญ อาจเกิดปัญหาในอนาคต เช่น อาจขาด ส.ว. ที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา

 

'อำนวย'เผย31ส.ค.-1ก.ย.ประชุมร่วมรัฐสภา

นายอำนวย คลังผา เป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่า ขณะนี้
ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า ในวันที่ 31 สิงหาคม และวันที่ 1 กันยายน จะมีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณา
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ ส.ว. ต่ออย่างแน่นอน โดยจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 10.00 น. และไม่
กำหนดว่าจะต้องอภิปรายเสร็จสิ้นในเวลาเท่าใด ซึ่งหากยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้นทั้งฉบับ ก็จะมีการหารือเพื่อ
นัดวันประชุมกันอีกครั้ง


ส.ส.ปชป. ระบุ รธน.50 ให้อำนาจพิเศษ ส.ว. มากกว่า ส.ส.

บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภา วาระ 2 ล่าสุดขณะนี้ยังอยู่ในการพิจารณาในมาตรา 4 โดย นายอรรถพร พลบุตร
ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่า การทำหน้าที่ของส.ว.นั้น แตกต่างจาก ส.ส.หลายส่วน เนื่อง
จาก ส.ว.มีอำนาจเฉพาะที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ และต้องเป็นอิสระปราศจากพรรคการเมือง ดังนั้น รัฐธรรมนูญ
50 จึงแยกอำนาจของ ส.ว. ออกมาเป็นอำนาจพิเศษ คือ สามารถแต่งตั้ง ถอดถอน กรรมการองค์กรอิสระ
โดยปราศจากพรรคการเมืองครอบงำในการทำหน้าที่ ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ว.มีคุณสมบัติเดียว
กับ ส.ส. จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้


ถกร่วมรัฐสภา ยังอภิปรายใน ม.4

บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ล่าสุดยังคงอยู่ในการอภิปรายมาตราที่ 4 โดย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าขอแปรญัตติจากการกำหนดให้มีการเลือกตั้งระบบจังหวัดเป็นระบบประเทศ เพื่อไม่ให้อำนาจทางการเมืองเข้าไปครอบงำ ซึ่งทางด้าน น.พ.บัญญัติ เจตนจันทร์ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ขอแปรญัตติให้ตัดมาตรา 4 นี้ออกเพราะเห็นว่าหาก ส.ว.มีที่มาคล้ายคลึงกับ ส.ส.จะทำให้ไม่สามารถถ่วงดุลกันได้ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งหรือถอดถอนตำแหน่งที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทาง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนหนึ่ง ก็ได้ลุกขึ้นหารือกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ถึงเรื่องแนวโน้มการประชุมต่อในวันที่ 31 ส.ค. และ 1 ก.ย. โดยไม่เห็นด้วย ที่จะให้มีการประชุม
วันดังกล่าว เนื่องจาก ส.ส.ต้องลงพื้นที่รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน และมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ดังนั้น นายสมศักดิ์ จึงขอให้วิป 3 ฝ่ายหารือกัน ว่าจะมีการประชุมร่วมรัฐสภาในวันดังกล่าวหรือไม่

 

'เอกนัฏ' ค้านแก้รธน. ชี้เปิดช่องให้ฝ่ายการเมืองแทรก

สำหรับบรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของ ส.ว. โดยใน
มาตราที่ 4 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปรายว่า ไม่เห็นด้วยกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ตามที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากมีการแก้ไข เนื่องจากเห็นว่า จะเป็นการปลดล็อกให้
ฝ่ายการเมืองสามารถเข้ามาแทรกแซงวุฒิสภาในการตรวจสอบรัฐบาล แต่ทั้งนี้ ส่วนตัวขอญัตติในมาตรา 4 โดยให้
ยกเลิกข้อความในมาตรา 113 และ 114 โดยในมาตรา 113 ให้ใช้ข้อความว่า ให้เปลี่ยนระบบเลือกตั้งจากเขตจังหวัด
เป็นแบบแบ่งเขตประเทศ และเสนอให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. โดยตรง 100 คน และจากองค์กรวิชาชีพ 100 คน

อย่างไรก็ตาม สำหรับบรรยากาศโดยทั่วไป บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ต่างสลับกันลุกขึ้นอภิปรายกันอย่างต่อเนื่อง


ยังไม่สรุปถกร่วมรัฐสภาวันเสาร์-อาทิตย์นี้

บรรยากาศการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับ
ที่มาของวุฒิสภา วาระ 2 ล่าสุดขณะนี้ ยังอยู่ในการพิจารณาในมาตรา 4 ซึ่งใช้เวลาพิจารณาไปแล้ว กว่า 10 ช.ม. โดยที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ยังคงอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการ โดยชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุปการหารือของวิป 2 ฝ่าย ว่าจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภา วาระ 2 ต่อในวันเสาร์และวันอาทิตย์นี้ หรือไม่


ถกร่วมรัฐสภามีมติ ผ่าน ม.4 ด้วยคะแนน 332:108

การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับที่มาของวุฒิสภาวาระ 2 มาตรา 4 ตลอดทั้งวัน ฝ่ายค้านได้อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ที่ให้ยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114 ซึ่งหลังจากอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และครบทุกคนแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ด้วยคะแนน 332 ต่อ 108 เสียง งดออกเสียง 26 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง

จากนั้น นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 20.30 น. และนัดประชุมต่อในวันที่ 4 ก.ย. เวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณามาตรา 5 คุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ส.ว.


-----------------------------------------------

รัฐสภาถกแก้รธน.ต่อ-'สมศักดิ์'ยันไม่เร่งรัดรอดูต่อส.-อ.

http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=476154




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook