ครม.ผ่านงบ 1.15แสนล้านบาท กระตุ้นศก.นโยบายปชป.งบอื้อ

ครม.ผ่านงบ 1.15แสนล้านบาท กระตุ้นศก.นโยบายปชป.งบอื้อ

ครม.ผ่านงบ 1.15แสนล้านบาท กระตุ้นศก.นโยบายปชป.งบอื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ครม.หว่านงบกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1.15 แสนล้านบาท ผ่าน 17 โครงการ นโยบายช่วงหาเสียง ปชป. ได้งบอื้อ สภาอุตฯลำพูนขานรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล จี้เพิ่มเงื่อนไขปล่อยกู้เอสเอ็มอี สามารถรีไฟแนนซ์ได้ ด้านหอการค้ากลุ่มจว.ภาคเหนือฯ เชื่อมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯช่วยทำเศรษฐกิจหมุนเวียน (13ม.ค.)นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครมว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบกรอบรายละเอียดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2552 วงเงิน 115,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบรายจ่ายตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลและตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจรวม 95,860 ล้านบาท ที่เหลืออีก 19,000 ล้านบาท จะเป็นงบประมาณเพื่อชดเชยเงินคงคลัง เชื่อว่าภายใน 1-2 เดือนเงินทังหมดจะเข้าสู่ระบบ เพื่อให้เกิดการใช้จ่าย นอกจากนี้รัฐบาลจะเร่งการใช้ จ่ายในส่วนงบประมาณของรัฐวิสาหกิจและงบในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับงบประมาณตามโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจประกอบด้วย 1. โครงการการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ 18,970.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณอุดหนุนผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 2 พันบาท โดยเงินเดือนต้องไม่เกิน 1.4 หมื่นบาท โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณไปคำนวณตัวเลขาผู้ที่ได้รับการอุดหนุนอีกครั้ง 2. โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน 11,409.2 ล้านบาท 3. โครงการจัดทำและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร 2,000 ล้านบาท 4. โครงการก่อสร้างภายในหมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประชาชน 1,500 ล้านบาท 5. โครงการด้านพาณิชย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน 1,000 ล้านบาท 6. โครงการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว 1,000 ล้านบาท 7. โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการจัดการน้ำ 760 ล้านบาท 8. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสหากรรมอาหารและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม 500 ล้านบาท 9. โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ 325 ล้านบาท 10. โครงการสนับสนุนการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 19,000 ล้านบาท 11. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน 15,200 ล้านบาท 12. โครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก้ผู้สูงอายุ 9,000 ล้านบาท 13. โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชุน 6,900 ล้านบาท 14. โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เชิงรุก 3,000 ล้านบาท 15. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 1,808 ล้านบาท 16. โครงการปรับปรุงสถานีอนามัย 1,095.8 ล้านบาท 17. โครงการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 2,391 ล้านบาท 18. รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 19,139.5 ล้านบาท รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.ให้ความสำคัญในช่วงนี้ คือ งบประมาณแผนการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในสังคม วงเงิน 6,976 ล้านบาท และการตั้งงบประมาณสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินวงเงิน 120 ล้านบาท ใช้ในการเตรียมจัดอบรมผู้ว่างงานระยะเริ่มต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับงบกลางปีที่เตรียมจะเสนอเข้าที่ประชุมสภา นายพุฒิพงษ์ กล่าวว่า สำหรับงบกลางทั้งหมดเมื่อแยกตามกระทรวงทบวงกรม เป็นงบกลางประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท งบสำนักนายกรัฐมนตรี 1.52 หมื่นล้านบาท กระทรวงต่างประเทศ 325 ล้านบาท กระทรวงท่องเที่ยว 550 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯ 2 พันล้านบาท กระทรวงคมนาคม 1.5 พันล้านบาท กระทรวงทรัพย์ฯ 760 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ 1 พันล้านบาท กระทรวงมหาดไทย 1.257 หมื่นล้านบาท กระทรวงแรงงาน 1.68 หมื่นล้านบาท กระทรวงวัฒนธรรม 21 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ 1.82 หมื่นล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข 1.95 พันล้านบาท กระทรวงอุตสาหกรรม 485 ล้านบาท ส่วนราชการที่ไม่สังกัดนายกฯ กระทรวง ทบวงกรม 1.97 พันล้านบาท รัฐวิสาหกิจ 1.8 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นงบชดเชยคงคลัง 1.9 หมื่นล้านบาท โดยทั้งหมดจะเข้าที่ประชุม ครม.อีกครั้งในวันที่ 20 ม.ค.เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้งก่อนเข้าสู่สภา คาดว่าจะมีการพิจารณาในสภาได้ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจากการประเมินร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศขยายตัวเบื้องต้นประมาณ 2.5 % แต่ผลอาจจะออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เป้าดังกล่าวนี้คาดว่ารัฐบาลจะทำได้ โดยทั้งหมดนี้จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจอีกครั้งในวันที่ 14 ม.ค.นี้ ภาคเอกชนเหนือขานรับมาตราการกระตุ้นศก.รัฐบาล นายมนัส เกียรติเจริญวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ลำพูน กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ในทางปฎิบัติยังกังวลว่าจะทำได้เป็นรูปธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะงบประมาณปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการผ่านสถาบันการเงิน ถ้าทำได้จริงจะช่วยผู้ประกอบการวิสาหกิจนาดกลางขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ที่กำลังขาดสภาพคล่อง แต่ภาคเอกชนอยากให้รัฐบาลเพิ่มเงื่อนไขสามารถรีไฟแนนซ์ได้ เพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระ ลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ฯลฯ จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการได้มาก ส่วนเงื่อนไขการปล่อยกู้ที่ระบุห้ามผู้ประกอบการเลิกจ้างแรงงานนั้น เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน แต่ไม่รวมถึงการลดโอที หรือเวลาทำงานของพนักงานลง เมื่อออร์เดอร์ลดจำเป็นต้องนำมาตรการเหล่านี้มาช่วยบรรเทาปัญหา นอกจากนี้แต่ละจังหวัดต้องตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการและแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม นายมนัส กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) จ.ลำพูน เคยเสนอให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการจำนำสินค้าอุตสาหกรรมช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ซึ่ง กกร.จะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไปว่าสามารถทำได้หรือไม่ "ปัจจุบันจ.ลำพูนมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวน 70 แห่ง มีการจ้างแรงงาน 50,000 คน และเอสเอ็มอีจำนวน 1,900 แห่ง มีการจ้างแรงงาน 30,000 คน ยังไม่รวมแรงงานนอกระบบซึ่งคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 20,000 คน"นายมนัสกล่าว นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกลุ่มที่ 2 (เชียงราย - พะเยา - แพร่ - น่าน) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีแต่มีเงื่อนไขต้องไม่เลิกจ้างแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ดี และภาคเอกชนเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะช่วยได้ทั้ง 2 ทาง คือ ผู้ประกอบการและแรงงาน แต่เงื่อนไขการปล่อยกู้อื่นๆ อาจต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบว่าผู้ประกอบการจะสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้หรือไม่ ซึ่งต้องเห็นใจธนาคารด้วยเช่นกัน เพราะการทำธุรกิจของธนาคารต้องมีผลกำไร สำหรับมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ให้ผู้ซื้อสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ถึง 200,000 บาท จากเดิม 100,000 บาท เป็นมาตรการที่ดีเพราะช่วยกระตุ้นตลาด ส่งเสริมให้ประชาชนซื้อบ้าน และช่วยทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน นางวีรพรรณ เพียรกุศล นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมธุรกิจฯ เห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือภาคท่องเที่ยว โดยการปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคท่องเที่ยว แต่สมาคมฯเตรียมประชุมหารือกันอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ( 14 ม.ค.) เพื่อขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล นำงบประมาณมาช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ บรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักรวมกันถึง 30,000 ห้องและจ้างแรงงานกว่า 20,000 คน ซึ่งที่ผ่านมามีการเลิกจ้างไปแล้วบางส่วน นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลเพิ่มมาตรการกระตุ้นตลาด เพราะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นตลาดหลัก คือ อเมริกา ยุโรป ลดจำนวนลง ในปี 2551 ชะลอตัวไปถึง 30% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะชะลอตัวเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 20% ดังนั้นภาครัฐควรเร่งกระตุ้นตลาดภายในประเทศ ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐ - เอกชน จัดประชุมสัมมนามากขึ้น หอการค้าไทยเชียร์รัฐเพิ่มงบกลางปีเป็น 2 แสนล้านบาท นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงรัฐบาลจะเพิ่มงบกลางปีเป็น 120,000 ล้านบาท ว่า เป็นสิ่งที่ดีและจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้แย่ลง นายอัทธ์ กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้รัฐบาลเพิ่มวงเงินงบประมาณเป็น 200,000 ล้านบาท เพราะจากงบฯ 120,000 ล้านบาท จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)เพียงร้อยละ 0.7 หากเพิ่มเป็น 200,000 ล้านบาท จะทำให้จีดีพี ปีนี้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.4 โดยเฉพาะกำหนดระยะเวลาและแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจระดับต่าง ๆ ให้เกิดความชัดเจน และเห็นด้วยที่รัฐบาลจะขยายระยะเวลา 6 มาตรการของภาครัฐ เพราะจะช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งรัฐเดินมาถูกทางแล้ว แต่ต้องกำหนดระยะเวลาและแนวทางให้ชัดเจน โดยงบประมาณแต่ละโครงการจะต้องถึงมือประชาชนอย่างแท้จริงไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ผล แต่กลับจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลง ซึ่งรัฐบาลจะต้องวางกรอบอย่างชัดเจน สำหรับการประเมินภาพรวมการส่งออกปีนี้ ทางศูนย์ฯ มองว่ามีแนวโน้มหดตัวลงร้อยละ 1.6 หรือมูลค่าส่งออกรวม 173,175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากผลกระทบภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดหลัก รวมถึงตลาดรอง ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าปีนี้จะมีมูลค่าทั้งสิ้น 167,258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบร้อยละ 6.7 จากปี 2551 ที่มาจากการหดตัวของภาคส่งออก การบริโภคในประเทศชะลอตัวลง รวมถึงปัจจัยราคาสินค้าทั้งพลังงานและไม่ใช่พลังงานปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลดีให้กับดุลการค้าที่คาดว่าปีนี้ไทยจะเกินดุลการค้า 5,917 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2551 ขาดดุลถึง 3,346 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้ คาดว่าจะขาดดุล 3,695 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เกินดุล 948 ล้านดอลลาร์สหรฐในปี 2551 เนื่องจากดุลบริการจะเกินดุลลดลงในปี 2552 คาดว่าดุลบริการจะเกินดุลเพียง 984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เกินดุล 5,446 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2551 เนื่องจากรายได้การท่องเที่ยวชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่หดตัวลง ถือเป็นสมมติฐานในกรอบจีดีพี ขยายตัวร้อยละ 0.1-1.5 หากรัฐบาลนำเงินงบประมาณ 120,000-200,000 ล้านบาทกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในประเทศและภาคการส่งออก ตัวเลขการส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.1 แต่คงต้องจับตาว่างบประมาณแต่ละโครงการจะกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจไทยด้านต่าง ๆ ได้หรือไม่ หากภาพรวมรัฐบาลนำเงินอัดฉีดผ่านโครงการต่าง ๆ เต็มที่ จีดีพี ปีนี้น่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2 ส่วนที่คาดการณ์ว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้ (14 ม.ค.) จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น นายอัทธ์ กล่าวว่า จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่ง กนง.ควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงประมาณร้อยละ 0.25-0.50
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook