“บรรหาร” ยอมรับระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ เพิ่ม พื้นที่ปลายน้ำอาจกระทบบ้าง

“บรรหาร” ยอมรับระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ เพิ่ม พื้นที่ปลายน้ำอาจกระทบบ้าง

“บรรหาร” ยอมรับระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ เพิ่ม พื้นที่ปลายน้ำอาจกระทบบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจสถานการณ์น้ำที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี โดยบินตรวจสภาพโดยรอบ ดูความแข็งแรงของสันเขื่อนและปริมาณน้ำตอนเหนือเขื่อนที่มาจากเพชรบูรณ์ จากนั้นรับฟังบรรรยายสถานการณ์ล่าสุด ซึ่งวันนี้ (4 ต.ค.) ปริมาณน้ำในเขื่อนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำจาก 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จนถึงวันที่ 7 ตุลาคมนี้ เพื่อรองรับน้ำเหนือที่จะมาเติม จากนั้นถึงจะลดระดับการระบายน้ำลง โดยนายบรรหาร กำชับว่าหากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะเพิ่มการระบายน้ำมากกว่า 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต้องรายงานตนเองก่อน และเขื่อนปลายน้ำต้องควบคุมและติดตามการระบายน้ำอย่างใกล้ชิด

นายบรรหาร กล่าวว่า จากการสำรวจและดูพื้นที่จริง ยืนยันได้ว่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีความแข็งแรง ไม่พังแน่นอน ซึ่งการเพิ่มการระบายน้ำเป็น 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วงวันที่ 4 ถึง 7 ตุลาคมนี้ ยังน้อยกว่าการระบายน้ำเมื่อปี 53 และเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าพื้นที่ใต้เขื่อนด้านล่างต้องได้รับผลกระทบ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 60 เซนติเมตร ทั้งนี้ ถ้าอั้นน้ำเหนือเขื่อนไว้เกรงจะเกิดผลกระทบเหมือนมหาอุทกภัยปี 54 จากนั้นนายบรรหารได้นั่งเฮลิคอปเตอร์สำรวจการไหลของน้ำและปริมาณน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เรื่อยลงมาตามเส้นทางจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา พบว่าน้ำริมตลิ่งยังไม่มาก

ทั้งนี้ นายบรรหาร ได้ลงพื้นที่ติดตามการระบายน้ำท้ายเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งขณะนี้ปล่อยน้ำที่ 668 ลบ.ม.ต่อวินาที เริ่มกระทบกับชุมชนริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก เขตอำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง และอำเภอพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาณน้ำเต็มและปล่อยน้ำมาที่ 689 ลบ.ม./วินาที ลงสู่แม่น้ำป่าสัก คาดว่าจะปล่อยมากถึง 700 ลบ.ม./วินาที ในระยะ 1-2 วันนี้

นายบรรหาร ย้ำว่าเขื่อนพระรามหกจะต้องปล่อยน้ำไม่ให้เกินกว่า 800 ลบ.ม./วินาที รวมทั้งให้ติดตามปริมาณน้ำลุ่มแม่น้ำป่าสักและแผนบริหารจัดการไว้ให้ดี เพื่อประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook