อ.จุฬาฯ วิเคราะห์เบื้องหลังภาพพญานาค

อ.จุฬาฯ วิเคราะห์เบื้องหลังภาพพญานาค

อ.จุฬาฯ วิเคราะห์เบื้องหลังภาพพญานาค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

10 ต.ค. - อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ เชื่อว่าภาพพญานาคที่นครพนม แท้จริงแล้วเป็นคลื่นน้ำที่เกิดจากมีวัตถุหรือท่อนไม้ปักอยู่กลางลำน้ำ ส่วนแสงสีส้มมาจากแสงอาทิตย์ ชี้เป็นความเชื่อท้องถิ่น ขอให้เชื่ออย่างเหมาะสม

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีปรากฏภาพที่ชาวบ้านจังหวัดนครพนมเชื่อว่าเป็นพญานาคขึ้นมาจากน้ำเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตนมองว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของพญานาคหรือสัตว์ใดที่กำลังเคลื่อนที่ ซึ่งจะยิ่งเห็นได้ชัดหากมีวิดีโอว่าสิ่งที่เห็นนี้ไม่ได้ว่ายเคลื่อนไปข้างหน้าหรือว่ายทวนน้ำ แต่เป็นภาพที่อยู่กับที่ คล้ายกับที่เคยเกิดในอดีตหลายครั้งแล้ว

"ภาพที่ออกมามีภาพนิ่งภาพเดียว น่าเสียดายที่ไม่มีวิดีโอซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน ที่เห็นนี้ไม่เห็นชัดว่าเป็นตัวอะไร ตนมองว่าเป็นเหมือนคลื่นบางอย่างกับมีสีส้ม ถ้าไม่มีวิดีโอก็ยังฟันธงได้ยาก แต่คิดว่าเป็นอะไรสักอย่างที่ปักอยู่ตรงกลางลำน้ำ เหมือนมีไม้ เสา หรือขยะติดอยู่ พอกระแสน้ำเคลื่อนไปก็เกิดเป็นแนวคลื่นขึ้น ส่วนที่เห็นเป็นสีส้ม ก็อาจเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ตก" ผศ.ดร.เจษฎา กล่าว

ผศ.ดร.เจษฎา กล่าวว่า กรณีนี้ไม่แปลกเพราะเป็นความเชื่อท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมากในไทย เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ใครจะเชื่อว่าเป็นอย่างไร แต่ความเชื่อนั้นก็ควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ทำให้หลงงมงายจนไม่ได้ดำเนินชีวิตตามที่สมควร แต่หากใครจะไม่เชื่อ ก็จะต้องอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย เช่น ถ้าบอกว่าเป็นงูยักษ์ หรือปลาออ ก็ไม่น่าจะใช่เพราะงูไม่ได้ว่ายน้ำในลักษณะนี้ หรือปลาออก็เป็นปลาทะเล" ผศ.ดร.เจษฎา กล่าว - สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook