กรมวิทยาศาสตร์ฯแนะคนน้ำท่วมดูแลสารเคมี

กรมวิทยาศาสตร์ฯแนะคนน้ำท่วมดูแลสารเคมี

กรมวิทยาศาสตร์ฯแนะคนน้ำท่วมดูแลสารเคมี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะ ปชช.ประสบน้ำท่วมกับการกำจัดสารเคมี ในบ้าน

น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนะนำประชาชนและผู้ประสบภัยน้ำท่วม  อาจได้รับอันตรายจากสารเคมีใกล้ตัวที่ใช้ภายในบ้าน โดยมีคำแนะนำและวิธีการปฏิบัติดังนี้ 1.เริ่มสำรวจภายในบ้านว่ามีการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ ทำความสะอาดครัว พื้น น้ำยาล้างท่อตัน ยากันยุง สเปรย์ฆ่ายุง กับดักหนู ยาฆ่าปลวก ฆ่าแมลงสาบ สารมีกำจัดศัตรูพืช เก็บที่ไหน อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือไม่ 2.สำรวจพื้นที่รอบบ้าน ว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย ยาฉีดปลวก น้ำยาคลอรีน หรือสารเคมีอื่นๆ วางไว้จุดใด น้ำท่วมถึงหรือไม่ 3.การป้องกันให้พ้นน้ำ หากประเมินว่าน้ำท่วมถึงให้จัดเก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด ยกเก็บให้สูงพ้นน้ำหรือขยับไปวางไว้ที่ปลอดภัยนอกบ้าน แยกจุดวางจากกองอาหารและน้ำดื่ม ทำป้ายหรือเครื่องหมายให้เห็นชัด ระวังอย่าให้รั่วไหลลงน้ำ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หรือถ้าไม่จำเป็นก็ควรลดการใช้ในช่วงน้ำท่วมนี้ไปก่อน 4.สำรวจขยะในบ้าน หากมีภาชนะใส่น้ำยาต่างๆ ข้างต้นที่ใช้หมดแล้วที่ยังไม่ได้ทิ้ง หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วอยู่ในบ้านหรือรอบบ้านหรือไม่ เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย ถ้ามีรวบรวมแยกจากขยะแห้งอื่นๆ ทั่วไป และถ้ารถขยะยังมาเก็บอยู่ให้รีบเอาออกไปกำจัดทิ้ง 5.สารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ประกอบกิจการภายในบ้าน เช่น กิจการอู่ซ่อมรถ เคาะ พ่นสีรถ ขัดล้างโลหะ เป็นต้น ซึ่งอาจมีสารเคมีหลายชนิด เช่น เบนซิน เอทธิลอาซีเตท เมื่อถูกน้ำหรือน้ำยากรดด่างอาจจะลุกเป็นไฟหรือระเบิดได้ และหาข้อมูลเตรียมไว้ว่าสารเหล่านั้นถูกน้ำได้หรือไม่ ควรเก็บให้พ้นน้ำอย่างไรจะได้ปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย หรือกรณีที่มีน้ำท่วมบ้านพยายามใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด 6.ถ้าระหว่างหนีน้ำหรือช่วยคนอื่น หากเจอขวดหรือภาชนะใส่สารเคมีที่ยังมีสารเคมีเหลืออยู่ บ่อกักเก็บน้ำทิ้ง หรือบริเวณทิ้งขยะอันตรายให้แจ้งผู้ดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที และ 7.การอยู่กับน้ำ ต้องระวังอย่าให้น้ำรอบๆ บ้านสกปรกมาก ซึ่งถ้าทุกบ้านช่วยระวัง อาจช่วยบรรเทาปัญหาได้ เพราะการอยู่ใกล้น้ำที่มีกลิ่นนานๆ จะกระทบกับคนที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook