สถาบันพระปกเกล้าเผยงานวิจัย ไทยติดที่1โลก ตระกูลสืบทอดการเมือง

สถาบันพระปกเกล้าเผยงานวิจัย ไทยติดที่1โลก ตระกูลสืบทอดการเมือง

สถาบันพระปกเกล้าเผยงานวิจัย ไทยติดที่1โลก ตระกูลสืบทอดการเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม นายสติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยงานวิจัย "ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก" พบว่า ไทยมีสัดส่วนตระกูลการเมืองสูงกว่าประเทศที่ได้ชื่อว่าตระกูลการเมืองมีบทบาทสำคัญอย่างเม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ร้อยละ 2 ร้อยละ 5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ เป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกาถึงสี่และเจ็ดเท่าตามลำดับ หากเปรียบเทียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่มีคนในตระกูลเดียวกันเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน และเปรียบเทียบกับประเทศอื่น พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 42 ตามด้วยเม็กซิโก ร้อยละ 40 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 37 ญี่ปุ่นร้อยละ 33 อาร์เจนตินา ร้อยละ 10 และสหรัฐอเมริการ้อยละ 6

งานวิจัยระบุอีกว่าตระกูลการเมืองที่ประสบความสำเร็จรักษาสืบทอด แผ่ขยายอาณาจักรทางการเมืองช่วงหลังปี 2540 เป็นต้นมา ได้แก่ ตระกูลชินวัตรมีการวางรากฐานทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยนายเลิศ ชินวัตร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พ.ศ.2512 และส่งต่อความสำเร็จมายังนายสุรพันธ์ ชินวัตร น้องชายนายเลิศ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ 4 สมัย (พ.ศ.2522, 2526, 2529, 2531) ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามารื้อฟื้น สานต่อและแผ่ขยายอิทธิพลของตระกูล จนมีสมาชิกของตระกูลก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน คือ พ.ต.ท.ทักษิณ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากนี้สมาชิกตระกูลชินวัตรยังประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง ส.ส.มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2544 อีกหลายคน อาทิ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ตระกูลแยกเป็นรายพรรค จะพบว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่มีตระกูลการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามากที่สุดรวม 19 ตระกูล รองลงมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล พรรคภูมิใจไทย 4 ตระกูล พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ตระกูล พรรคพลังชล 1 ตระกูล และพรรครักประเทศไทย 1 ตระกูล หากพิจารณาในแง่สัดส่วน จะพบว่าพรรคชาติไทยพัฒนามีสัดส่วนของ ส.ส.ที่มีคนในตระกูลเดียวกันได้รับเลือกต่อจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคสูงที่สุด ร้อยละ 31.6 รองลงมาเป็นพรรคพลังชลร้อยละ 28.6 พรรครักประเทศไทยร้อยละ 25 พรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 22 พรรคภูมิใจไทยร้อยละ 17.6 และพรรคเพื่อไทยร้อยละ 15.1

ที่สำคัญผลการศึกษายังพบด้วยว่า นักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูลที่เคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน น่าจะมีสัดส่วนสูงกว่านักการเมืองที่ไม่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูลเพราะนักการเมืองที่มีสายสัมพันธ์แบบตระกูล สามารถอาศัยความได้เปรียบต่างๆ เป็นสะพานเชื่อมได้ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook