จิสด้าเตือนระวังชิ้นส่วนจรวดอินเดียตกอันดามัน นอกชายฝั่งพังงา

จิสด้าเตือนระวังชิ้นส่วนจรวดอินเดียตกอันดามัน นอกชายฝั่งพังงา

จิสด้าเตือนระวังชิ้นส่วนจรวดอินเดียตกอันดามัน นอกชายฝั่งพังงา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาข่าว)

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน หรือ จิสด้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ได้ประกาศแจ้งข่าวที่รัฐบาลอินเดียกำหนดส่งดาวเทียมสำรวจดาวอังคารดวงแรกของประเทศขึ้นสู่อวกาศ โดยใช้จรวดนำส่ง PSLV-C25 จากศูนย์อวกาศตีศธวัน (Satish Dhawan Space Centre SHAR) บนเกาะศรีหริโกฎา และมีกำหนดจะนำส่งขึ้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เวลา 16.38 น. ตามเวลาประเทศไทย แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศและปัจจัยอื่นๆ

นายอานนท์กล่าวว่า โดยวิถีการนำส่งนี้ดาวเทียมดวงนี้ จะพาดผ่านน่านฟ้าจากมหาสมุทรอินเดียไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก จิสด้าได้จัดทำแผนที่ โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากรัฐบาลอินเดีย ซึ่งแสดงถึงวิถีพาดผ่านเหนือภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณจังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง

โดยคาดว่าจะมีชิ้นส่วนจากจรวดนำส่งที่จะตกลงมายังพื้นโลก 5 ชิ้น ทั้งหมดจะตกลงในมหาสมุทรอินเดีย โดยคาดว่าชิ้นส่วนชิ้นสุดท้ายที่หนักประมาณ 10 กว่าตัน ซึ่งจะตกใกล้ประเทศไทยมากที่สุด จะตกในทะเลอันดามัน นอกชายฝั่งจังหวัดพังงาประมาณ 360 กิโลเมตร เป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสาธารณรัฐอินเดีย

"ดังนั้นจึงขอให้เรือและอากาศยานหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 5 พฤศจิกายน ช่วงเวลาตั้งแต่ 16.00-18.00 น. แต่สำหรับพื้นที่บนบกนั้นยังไม่มีความจำเป็นจะต้องเตรียมการใดๆ เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นที่ที่คาดว่าจะไม่ได้รับผล จิสด้าจะได้ติดตามและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลอินเดียถึงเวลาการปล่อยจรวดที่แน่นอนและชัดเจน รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ต่อไป"

นายอานนท์กล่าวว่า หากไม่มีอะไรผิดพลาดในแง่การนำส่ง จรวดดังกล่าวไม่น่าจะมีการเบี่ยงเบน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น จิสด้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมอุทกศาสตร์และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จะช่วยกันเฝ้าระวังในช่วงเวลา 4-6 โมงเย็น โดยจะแจ้งเตือนให้เครื่องบินที่บินในช่วงเวลา และเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เลี่ยงเส้นทางบินในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งเรือที่แล่นผ่านพื้นที่ดังกล่าวด้วย

"แต่ผมค่อนข้างมั่นใจในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศของประเทศอินเดีย ที่ค่อนข้างจะก้าวหน้าและทันสมัย ถ้าเทียบกับระดับโลก ถือว่าไม่ได้น้อยหน้าประเทศใด"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook