มอมยานอวกาศอินเดียหลุดวงโคจรโลก

มอมยานอวกาศอินเดียหลุดวงโคจรโลก

มอมยานอวกาศอินเดียหลุดวงโคจรโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'มาร์สออร์บิเตอร์มิสชัน' ยานอวกาศอินเดีย หลุดวงโคจรโลกแล้ว เผย พร้อมมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า วันนี้ (3 ธ.ค.) เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวเปิดเผยว่า ในขณะนี้ ยานอวกาศของอินเดีย ได้พ้นจากวงโคจรโลก และเริ่มต้นการเดินทางนาน 300 วัน เป็นระยะทางไกล 680 ล้านกิโลเมตร เพื่อมุ่งหน้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร ตามกำหนดการในวันที่ 24 ก.ย. 2014 นี้ โดยยานอวกาศที่มีมูลค่า 72 ล้านดอลลาร์ หรือ กว่า 2,100 ล้านบาท ลำนี้ ได้แบกอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ไปยังดาวเคราะห์ที่อยู่ในระยะห่าง โดยบริเวณรอบเดียวกัน และรวมถึงอุปกรณ์ตรวจหาก๊าซมีเทนในบรรยากาศอีกด้วย 

นอกจากนี้ ทางด้าน เค ราธากฤษนัน (K Radhakrishnan) ผู้อำนวยการองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย กล่าวถึงปฏิบัติการนำยานออกจากโคจรโลกว่า หลังจากที่ ยานสำรวจดาวอังคาร มาร์สออร์บิเตอร์มิสชัน (Mars Orbiter Mission) หรือ มอม (MOM) ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation: Isro) หรือ มงคลยาน 
(Mangalyaan) ในนามที่ชาวอินเดียรู้จัก ได้จุดระเบิดเครื่องยนต์หลักจนสามารถหลุดจากวงโคจรโลกได้สำเร็จ พร้อมมุ่งเดินทางไปไกลเลยระยะวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ของชาวอินเดีย ที่เดินไปไกลที่สุด และยังมีแนวโน้มว่าจะสามารถผ่านไปได้ด้วยดี 

อย่างไรก็ตาม ภารกิจการค้นหา "ก๊าซมีเทน" ซึ่งเป็นหนึ่งในการทดลองหลักของมงคลยานนั้น ผู้สื่อข่าวบีบีซี นิวส์ กล่าวทิ้งท้าย ว่า บนโลกนั้นก๊าซมีเทนส่วนใหญ่ในบรรยากาศ จะสามารถผลิตขึ้นจากสิ่งมีชีวิต และก่อนหน้านี้มียานโคจรรอบดาวอังคาร และกล้องโทรทรรศน์บนโลก สามารถตรวจจับก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศดาวอังคารได้นั่นเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook