โรคกุ้งEMSฉุดการส่งออกไทยดิ่งกว่า50%

โรคกุ้งEMSฉุดการส่งออกไทยดิ่งกว่า50%

โรคกุ้งEMSฉุดการส่งออกไทยดิ่งกว่า50%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิกฤตโรคกุ้งอีเอ็มเอส (โรคตายด่วน) อาจฉุดผลผลิตไทยดิ่งเกือบครึ่ง กระทบธุรกิจการส่งออก ราว 50 พันล้านบาท

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานความเคลื่อนไหว ในวันนี้ (20 ธ.ค.) กรณีความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อันมาจากสาเหตุของภาวะกุ้งเป็นโรค ซึ่งนักวิจัยไทยเปิดเผยว่า ผลผลิตที่มาจากกุ้งในปี 2556 มีการปรับตัวลดลงอย่างหนัก ราว 250,000 ตัน ซึ่งลดลงจากปีที่ก่อนถึง 54%  เนื่องจาก วิกฤตปัญหาการเลี้ยง โรคกุ้งตายด่วน หรือ EMS อย่างที่ทราบกัน ทำให้ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในธุรกิจนี้ เพราะยังไม่มีแนวทางชัดเจนในการจัดการแก้ปัญหานี้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ด้วยภาวะราคากุ้งที่สูงขึ้น เป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีการเลี้ยงต่อเนื่อง ทำให้การเลี้ยงหลายพื้นที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น และจากความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง สถานการณ์วิกฤตดังกล่าวเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น นักวิจัยคาดว่าปี 2557 จะผลิตกุ้งได้ 300,000-320,000 ตัน พร้อมมีการเสนอให้ภาครัฐเร่งแก้ปัญหา การกีดกันการค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการถูกกล่าวหาเรื่องการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับใช้นั่นเอง

ขณะที่ นักวิเคราะห์ต่างชาติกลับมองในมุมกลับ เปิดเผยว่า รูปแบบของวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่ออุตสาหกรรมธุรกิจการส่งออก และจัดจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายและความเสียหายถึง 50 พันล้านบาท (1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ) โดยเบื้องต้น วิฤตโรคกุ้งอีเอ็มเอส เริ่มส่งผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกของไทย ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ราว 40 %

อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมกุ้งไทย แถลงคาดการณ์ว่า หากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้รับการแก้ไข เชื่อว่า ในปี 2557 ผลผลิตกุ้งไทยจะมีการเติบโตที่ดีขึ้น ราว 20 % ส่งผลทำให้ธุรกิจการส่งออกขยายการเติบโตอีก 20 % โดยสามารถประเมิณสถานการณ์การแก้ไขวิกฤตนี้ประมาณช่วงกลางปีหน้า เพราะเชื่อว่าไทยยังมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหา และผลิตกุ้งได้ราว 5 แสนตันต่อปี


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook