ไพบูลย์ และ วิรัตน์ ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทย ชี้ ออก พรก.ฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย

ไพบูลย์ และ วิรัตน์ ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทย ชี้ ออก พรก.ฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย

ไพบูลย์ และ วิรัตน์ ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคเพื่อไทย ชี้ ออก พรก.ฉุกเฉิน ผิดกฎหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 24 มกราคม ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เดินทางมายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า การประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรรคเพื่อไทย (พท.) รวมทั้งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค พท. ในฐานะคณะที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย (ศรส.) และรัฐมนตรีของ พท.ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 18 คน และขอให้ระงับการกระทำดังกล่าว รวมทั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องเป็นกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรค เพื่อไทย จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรค เพื่อไทย

นายไพบูลย์กล่าวว่า เป็นการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กล่าวหาพรรค พท. นายจารุพงศ์และผู้สมัคร พท.ที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 18 คน ได้ร่วมกันกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เนื่องจากช่วงการออก พ.ร.ก.ฉุนเฉิน อยู่ระหว่างยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น จึงต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญมาตรา 181(4) ซึ่งการอนุมัติของ ครม.ได้มีการใช้ทรัพยากรของรัฐไปดำเนินการและมีผลต่อการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังขัดต่อระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีกด้วย

"ดังนั้น จึงเป็นการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรคการเมือง เนื่องจากมีผู้รับสมัครการเลือกตั้งอยู่ในที่ประชุม ครม. ซึ่งหัวหน้า พท.ก็ร่วมอยู่ด้วย จึงเป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง ซึ่งถือว่าถ้าพรรคการเมืองได้รู้เห็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น เพื่อทำให้ได้อำนาจการปกครองโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68" นายไพบูลย์กล่าว

ด้านนายวิรัตน์กล่าวว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นการกระทำที่ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์ขณะนี้ไม่ได้ฉุกเฉิน เนื่องจากมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม แต่ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา ซึ่งการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในครั้งนี้ไม่เหมือนกรณีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อปี 2553 เนื่องจากการชุมนุมขณะนี้เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ

"การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินขณะนี้อยู่ในช่วงการเลือกตั้ง ดังนั้น เป้าหมายเพื่อยับยั้งไม่ให้สถานีโทรทัศน์บลูสกาย ทีนิวส์ และสื่ออื่นๆ เสนอข่าวสารความจริงว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) (4) เพื่อต้องการปิดปากทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม และเป็นการกระทำของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรคสอง ที่เป็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงเข้าตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้ทราบการกระทำดังกล่าว" นายวิรัตน์กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook