นิคม แจงข้อหาแก้ที่มาส.ว.แล้ว มั่นใจป.ป.ช.ไม่ตั้งธง

นิคม แจงข้อหาแก้ที่มาส.ว.แล้ว มั่นใจป.ป.ช.ไม่ตั้งธง

นิคม แจงข้อหาแก้ที่มาส.ว.แล้ว มั่นใจป.ป.ช.ไม่ตั้งธง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานวุฒิสภา ขอขยายเวลาเข้าชี้แจง ป.ป.ช. ออกไปอีก 30 วัน คดีถอดถอนแก้ รธน. ที่มา ส.ว. เหตุเอกสารไม่ครบถ้วน ยืนยัน จะมาชี้แจงด้วยตนเอง

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เดินทางมาที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อมารับทราบและชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กรณีที่มีผู้ร้องว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ประเด็นที่มา ส.ว.

โดย นายนิคม กล่าวว่า วันนี้จะเข้าชี้แจงพร้อมเอกสารหลักฐานทุกอย่าง ซึ่งเชื่อว่าจะทำความเข้าใจกับ ป.ป.ช. ได้ โดยจะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในทุกประเด็น ทั้งเรื่องการประชุม ที่มีเอกสารหลักฐานยืนยันชัดเจน และในส่วนกรณีที่ตนเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างดังกล่าวด้วยนั้น ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว. ที่สามารถทำได้ และขณะที่การทำหน้าที่ในที่ประชุม ตนไม่ได้อภิปราย ไม่ได้แปรญัตติหรือลงมติแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เชื่อว่า ป.ป.ช. ไม่มีการตั้งธงไว้ก่อน และหลักฐานที่นำมาชี้แจง จะสามารถแก้ข้อกล่าวหาได้

ขณะที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา มีรายงานว่า จะเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากับ ป.ป.ช. ในวันนี้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้ระบุเวลาว่าจะเข้ามาชี้แจงในช่วงเวลาใด

 

'นิคม' ขอขยายเวลาแจงป.ป.ช. ปมแก้ที่มาส.ว.อีก30วัน

นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวภายหลังเข้ารับทราบและชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กรณีที่มีผู้ร้องว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ประเด็นที่มา ส.ว. ว่า วันนี้ได้เตรียมเอกสารหลักฐานมาหมดแล้ว แต่ยังขาดประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งได้ขอหนังสือไปยัง กระทรวงพานิชย์ กระทรวง ทบวงต่างๆ แต่ปรากฏว่า กระทรวงถูกปิด ทำให้ไม่สามารถนำเอกสารมาชี้แจงได้ จึงเรียนกับทาง ป.ป.ช. ว่า อยากมาชี้แจงด้วยตัวเอง แต่อยากให้ข้อมูลครบถ้วน จึงขอขยายระยะเวลาการชี้แจงออกไปอีก 30 วัน คือวันที่ 27 ก.พ. ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะมีข้อมูล รวมถึงบันทึกรายงานการประชุม ที่บอกรายละเอียดคำพูดทุกคำที่มีการพูดในที่ประชุม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการประกอบการพิจารณา

นายนิคม กล่าวอีกว่า มั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ เพราะเป็นการชี้แจงด้วยเอกสาร คำพูด บันทึกรายงานการประชุม ไม่ได้ชี้แจงแบบไร้ตรรกะ และไม่รู้สึกกังวลใจ หากกระบวนการพิจารณาเรื่องถอดถอนของ ป.ป.ช. จะมีความรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 1 - 2 เดือนเท่านั้น แต่กระบวนการต่อไป ก็จะไปอยู่ที่วุฒิสภา ซึ่งก็ไม่กังวลกับการทำงานเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม จำนวน ส.ว. ที่เหลือ จะเป็นปัญหาในเรื่องการตีความ ว่า ทุกคนที่เป็น ส.ว. สามารถลงคะแนนได้ และผู้ถูกกล่าวหาจะมีสิทธิ์ลงคะแนนหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประเด็นที่มีการโต้แย้งกัน

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook