ธีระชัย อดีตรมว.คลัง เตือนธ.ทหารไทยให้กู้จำนำข้าวผิดกฎหมาย
วันที่ 31 ม.ค. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊คส่วนตัว "Thirachai Phuvanatnaranubala" เตือนธนาคารทหารไทย ที่เป็นผู้ชนะประมูลปล่อยกู้แก่รัฐบาลงวดแรก 2 หมื่นล้าน สำหรับใช้ในโครงการรับจำนำข้าว ว่ามีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีแนวโน้มที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าการกู้นั้นผิดกฎหมาย ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับเงินคืน หรือกว่าจะได้คืนก็ต้องมีขบวนการทางกฎหมายที่ยาวนาน นอกจากนี้ยังมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินอีกด้วย
รายละเอียดมีดังนี้ ...
"คำเตือนแก่ กก ผจก ธนาคารทหารไทย
วันนี้ กระทรวงการคลังล้มประมูลเงินกู้ 1.3 แสนล้านไปเรียบร้อยแล้ว
ในช่วงบ่ายผมไปอัดเทปรายการที่ ทีวี เนชั่น บางนา ผมได้ติดตามผลการประมูลจากแบงค์พาณิชย์ต่างๆ ช่วงแรกนั้น ได้ข้อมูลว่า ธนาคารทหารไทยเป็นผู้ชนะประมูล จะเป็นผู้ให้กู้แก่รัฐบาลงวดแรก 2 หมื่นล้าน
ผมคาดว่ารัฐมนตรีคลังได้ตั้งความหวังไว้กับธนาคารทหารไทยมาก เพราะถึงแม้จะมีแบงค์ต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นใหญ่ แต่ทางการก็ยังถือหุ้นอยู่ในธนาคารนี้เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลัง จึงยังมีอิทธิพลในธนาคารนี้พอสมควร
แต่การที่ธนาคารพาณิชย์จะให้กู้แก่รัฐบาลนั้น เขาต้องมีการพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมายให้ถี่ถ้วน เพราะถ้าการกู้ผิดกฎหมาย แบงค์ที่ให้กู้อาจจะไม่ได้รับชำระคืน หรือกว่าจะได้คืน ก็ต้องมีขบวนการทางกฎหมายยาวนาน ภาษานักบริหารความเสี่ยง เขาเรียกว่า Legal Risk หรือความเสี่ยงทางกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงิน และของสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่ค้าขายกับแบงค์อีกด้วย
ถ้าผู้ฝากเงินเห็นพฤติกรรมว่า แบงค์ไม่ได้ยึดหลักการบริหารงานอย่างระมัดระวัง ผู้ฝากเงินอาจจะเร่งถอนเงินกัน ดังเกิดขึ้นแล้วที่ ธกส. และ แบงค์ออมสิน ความเสี่ยงนี้เรียกว่า Reputation Risk หรือความเสี่ยงทางชื่อเสียง
สุดท้าย ผู้บริหารยังจะมีสิทธิโดนผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแพ่ง เป็นการส่วนตัวอีกด้วย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบัน เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ผมขอถือโอกาสนี้ ให้ข้อมูลเพิ่มแก่ กก ผจก ธนาคารทหารไทย
วันนี้ ผมได้เห็นเอกสาร 2 ฉบับ ที่ชี้ชัดว่าแบงค์ใดที่ให้กู้แก่รัฐบาลนั้น มีความเสี่ยงมากกว่าที่คิด
หนึ่ง หนังสือจากกฤษฎีกาที่แสดงความเห็นว่ารัฐบาลสามารถกู้เงิน 1.3 แสนล้านได้ โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช้ความเห็นของ ** คณะกรรมการกฤษฎีกา ** แต่เป็นความเห็นของเลขากฤษฎีกาคนเดียว
และขั้นตอนการพิจารณาก็ไม่ได้สุขุมรอบคอบเท่าใด เพราะกระทรวงการคลังมีหนังสือถามไป ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 กฤษฎีกาก็มีหนังสือตอบในวันเดียวกัน ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ด้วย
สอง ถึงแม้กฤษฎีกาจะได้มีความเห็นดังกล่าวก็ตาม แต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ก็ได้ตระหนักว่า การกู้เงินครั้งนี้ อาจจะผิดกฎหมาย
โดย ผอ.สบน. ได้ทำบันทึกถึงปลัดกระทรวง เพื่อส่งต่อรัฐมนตรี เตือนว่า
" การที่ กกต. มีความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงการกู้ยืมเงินโดยการปรับลดวงเงินกู้และค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง และนำวงเงินมาเพิ่มให่แก่ ธกส. สำหรับนำมาใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาลนั้น อาจมีผลกระทบต่อความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี หากมีการวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไปว่า การดำเนินการดังกล่าว อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อันอาจมีผลทำให้เกิดความรับผิดชอบในทางกฎหมายและในทางการเมืองตามมาได้ "
พูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ดิฉันขอเตือนนะคะ ว่าศาลรัฐธรรมนูญอาจจะตัดสินว่า การกู้ 1.3 แสนล้าน ผิดกฎหมาย และหากเป็นเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีจะต้องติดคุกกันหมดนะคะ
และยังมีข้อเตือนเพิ่มเติมอีกว่า
" สบน. จึงมีข้อสังเกตว่า การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/ 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น อาจถูกวินิจฉัยชี้ขาด โดยองค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญฯ ต่อไปได้ว่า การดำเนินการดังกล่าว ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 181 (3) หรืออาจถูกฟ้องดำเนินคดีได้ "
พูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ สบน. ขอเตือนว่า ข้าราชการกระทรวงคลัง ในการกู้ 1.3 แสนล้าน อาจจะมีความผิดมาตรา 181 (3) และอาจถูกฟ้องคดีด้วย นะคะ
สบน. จึงได้สรุปบันทึกราชการฉบับนี้ว่า
" จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเห็นชอบ ขอได้โปรดนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาทบทวน หรือสังการยืนยันต่อไป "
พูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ดิฉันไม่อยากติดคุกแล้วค่ะ จึงขอเตือนให้รัฐมนตรีคลังทบทวน ควรเลิกการกู้ 1.3 แสนล้านเสียค่ะ แต่ถ้าท่านยังดื้อดึง ก็ขอเชิญให้ท่านสั่งการยืนยัน เพื่อท่านจะได้รับผิดชอบเต็มๆ และติดคุกแต่คนเดียวนะคะ ดิฉันขอไม่ไปด้วยนะคะ
ปลัดกระทรวงการคลัง (หรืออาจเป็นรองปลัดทำหน้าที่แทน) เสนอเรื่องต่อไปยังรัฐมนตรีคลัง " เรียนท่านรัฐมนตรี เพื่อโปรดพิจารณาทบทวน หรือสั่งการยืนยัน "
พูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ ผมก็ไม่เอาด้วยแล้วนะครับ ถ้าท่านไม่ยกเลิก ก็ขอให้ท่านเป็นผู้สั่งการ และติดคุกไปคนเดียวก็แล้วกัน
ท้ายบันทึก รัฐมนตรีคลังแทงเรื่อง ถึงรองปลัดกระทรวงการคลัง และ ผอ. สบน. โดยสั่งการยืนยันให้ข้าราชการดำเนินการกู้ 1.3 แสนล้านต่อไป
เป็นอันว่า ขณะนี้ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการคลัง เขาเปลี่ยนใจแล้ว
และเขาทำหลักฐานเพื่อวิงวอนให้รัฐมนตรีคลังฉุกคิดแล้ว
พูดง่ายๆ ก็คือ บัดนี้ เขาตระหนักกันแล้ว ว่าการกู้ 1.3 แสนล้านนี้ น่าจะผิดกฎหมาย
จึงขอให้ กก ผจก ธนาคารทหารไทยรับทราบข้อมูลนี้ไว้ด้วย เพราะแบงค์นี้มีแบงค์ต่างประเทศระดับใหญ่สุดของโลกถือหุ้นอยู่ด้วย
สำหรับแบงค์ระดับโลกเหล่านี้ เขาจะไม่สนใจกำไรที่อาจจะได้ หากมีความเสี่ยงแบบนี้
สำหรับแบงค์ระดับโลกเหล่านี้ เขาจะไม่ยินยอมให้มีการโอนอ่อนตามแรงกดดันทางการเมืองเด็ดขาด เขาจะเน้นรักษาชื่อเสียงไว้อย่างมั่นคง"
นอกจากนี้ นายธีระชัย ยังได้ตอบผู้ที่เข้ามาถามถึงทางออกเรื่องนี้ด้วยว่า เรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่ได้วางแผนทำงานไว้ก่อนยุบสภา มาวันนี้ก็สายไปเสียแล้ว เพราะกฎหมายไม่เปิดทางออกด้วยวิธีกู้
"ถ้าจะไม่กู้อย่างผิดกฎหมาย ก็มีสองทาง หนึ่ง เร่งขายข้าว (แต่จะต้องตรวจนับสต๊อก ปิดบัญชีครั้งใหญ่ หากข้าวไม่ครบ ต้องดำเนินคดี หากข้าวเสื่อมสภาพ ต้องตีราคาสต๊อกลดลง ต้องยอมรับผลขาดทุน และต้องขายแบบเปิดประมูลทั่วไป ไม่สามารถขายแบบขยักขหย่อน เพื่อบีบให้ข้าวออกไปทางคอขวด เพื่อให้พ่อค้าที่ไกล้ชิดเท่านั้น ที่ได้ประโยชน์) สอง เร่งให้มีรัฐบาลใหม่ จากการเลือกตั้ง หรือจากมวลมหาประชาชน ไม่ว่าจากทางใด ก็จะแก้ปัญหาข้อจำกัดในการกู้เงินได้ทั้งสองทาง" นายธีระชัย ระบุ
สำหรับการประมูลครั้งนี้นั้น ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. ได้เปิดให้สถาบันการเงินที่สนใจเข้าร่วมแสดงความจำนงให้เงินกู้แก่ ธ.ก.ส. ใช้ในโครงการรับจำนำข้าววงเงินก้อนแรก 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลค้ำประกันเงินกู้เต็มจำนวน โดยธนาคารพาณิชย์ได้ส่งตัวแทนยื่นซองเสนอดอกเบี้ย และวงเงินที่จะให้กู้ หลังจากนี้สบน.จะพิจารณาผู้ที่เสนออัตราดอกเบี้ยและวงเงินที่น่าสนใจที่สุด โดยผู้ที่จะยื่นเสนอวงเงินกู้ต้องเสนอขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ส่วนการเสนออัตราดอกเบี้ย ธนาคารอาจพิจารณาเพิ่มตามความเสี่ยง อย่างไรก็ตามการยื่นให้กู้แก่รัฐบาลในครั้งนี้ จะไม่มีการเปิดเผยว่า สถาบันการเงินใดให้กู้ เนื่องจากอาจเกิดปัญหาวุ่นวายและกระแสความไม่เชื่อมั่