หมอประเวศปัดนั่งนายกฯคนกลางแนะหันหน้าคุยกัน

หมอประเวศปัดนั่งนายกฯคนกลางแนะหันหน้าคุยกัน

หมอประเวศปัดนั่งนายกฯคนกลางแนะหันหน้าคุยกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'น.พ.ประเวศ วะสี' มองทางออกประเทศ ต้องกระจายอำนาจคืนท้องถิ่น แนะ 2 ฝ่าย หันหน้าเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน ยืนยันไม่ขอรับตำแหน่ง นายกฯคนกลาง รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนทางการเมือง แนะแก้ปัญหาชาวนาจัดสรรที่ดินให้เหมาะสม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ.ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ราษฎรอาวุโส และประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป มองว่า การเติบโตของประชาชน ไม่ได้ดูเพียงแต่ตัวเลขจีดีพี เพียงอย่างเดียว คือ ต้องดูความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นด้วย ว่าลดลงจริงหรือไม่ เพราะหากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ขยายตัวได้กว่า ร้อยละ 99 ของประเทศ แต่ประเทศไม่มีความกินดีอยู่ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นการเติบโตที่ยั่งยืน ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนของไทยในขณะนี้ คือการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการตัวเองได้ ซึ่งมองว่า การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียวในปัจจุบันนั้น เป็นที่มาของความแตกแยก เนื่องจาก อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ในจุด ๆ เดียว ทำให้ระบบการเมืองและข้าราชการไม่มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคม ขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล ทาง กปปส. นั้น ควรหันหน้ามาเจรจากันเพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป พร้อมกันนี้ยังยืนยันว่าไม่ขอรับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนกลาง รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนทางการเมือง

 

"น.พ.ประเวศ" แนะแก้ปัญหาชาวนาจัดสรรที่ดินให้เหมาะสม

น.พ.ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ราษฎรอาวุโส และประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าวนั้น ปัญหาเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ฉะนั้น แนวทางแก้ไขเฉพาะหน้า คือ เริ่มจากการรักษาสุขภาพจิตของเกษตรกร โดยการให้กระทรวงสาธารณสุขเข้าไปเยียวยา จากนั้นควรนำเงินกองทุนที่มีอยู่ในแต่ละชุมชนมาช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเงินในเบื้องต้น และจากนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งหาเงินมาชดใช้ให้กับเกษตรกรโดยเร็วที่สุด

ส่วนแนวทางในการแก้ไขแบบถาวร รัฐบาลจะต้องเข้ามาปฏิรูปที่ดิน โดยโอนชุมชนให้เป็นผู้จัดสรรกับคนในชุมชน อย่างน้อยครอบครัวละ 1 - 2 ไร่ และให้ชุมชนเข้ามาบริหารจัดการกันเอง จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook