ศาล รธน.เริ่มไต่สวนพยานคดีกู้ 2 ลล.
องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดพยานผู้ถูกร้องยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดี พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ภายใน 27 ก.พ.นี้
วันนี้ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดพยานผู้เชี่ยวชาญ มาไต่สวนเพิ่มเติมต่อจากครั้งที่แล้ว กรณี
คำร้องที่ขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรค 1 ว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการ
คลัง กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ มีความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยได้นัดพยานผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประกอบ
ด้วย ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งวันนี้ส่ง นายภัทรชัย ชูช่วย ผู้แทน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (ส.ส.ร.50) นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง
นายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง โดยจะเริ่มไต่สวนในเวลา 10.00 น.
ทั้งนี้ ทางคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะมีวาระการประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะรับหรือไม่รับคำร้องที่ นายวิรัตน์
กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 68 เพื่อขอให้
ศาลสั่งให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ
ศาล รธน.นัดพยานยื่นคำแถลงปิดคดีกู้ 2 ลล.27ก.พ.
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญ ในคดีที่ประธานรัฐสภา ส่งคำร้องของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยได้มีการสอบพยาน 5 ปาก เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งศาลได้ให้ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะ ผู้เสนอความเห็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้อง และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดี ภายในวันที่ 27 ก.พ. หากไม่ยื่นถือว่าไม่ติดใจ โดยศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจะวินิจฉัยคำร้องนี้เมื่อใด
ทั้งนี้ พยานผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องไปทางเดียวกันว่า แม้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน จะเป็นเงินกู้ แต่เป็นเงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งการใช้จ่ายต้องเป็นไปตามวิธีการงบประมาณเพราะเงินที่จะนำมาใช้หนี้เป็นเงินภาษีของประชาชน
ขณะเดียวกัน เห็นว่า การออก พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าว เหมือนออกมาเพื่อให้ได้กู้เงิน แต่ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการที่จะทำ ไม่ได้ผ่านการพิจารณา ของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะทำให้ประเทศ มีปัญหาด้านวินัยการเงิน การคลังกลายเป็นแบบอย่างให้กระทรวงต่างๆ ดำเนินการออกกฎหมายพิเศษในลักษณะนี้ และปิดทางไม่ให้มีการตรวจสอบได้เลย ส่งผลกระทบต่อการบริหารหนี้สาธารณะ ความเชื่อมั่นและเครดิตของประเทศ จึงเห็นว่า พ.ร.บ.นี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ