โคราชปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวแห้งตาย

โคราชปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวแห้งตาย

โคราชปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวแห้งตาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวนาโคราช ปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนข้าวที่แห้งตาย จังหวัดเตรียมเรียกทุกภาคส่วนหาแนวทางจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดหน้าแล้ง

ภายหลังจากในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน กำลังประสบปัญหาแหล่งน้ำตามธรรมชาติเริ่มแห้งขอดส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองยาง ต.หนองยาง อ.เฉลิมพระเกียรติ จำเป็นที่จะต้องหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ บวบ ถั่ว และแตง โดยใช้ระบบแบบน้ำหยด ทั้งนี้ ทางนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้กำชับให้นายอำเภอทั้ง 32 อำเภอ ออกสำรวจความเดือดร้อนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้ง พร้อมทั้งให้รายงานมายังจังหวัด ส่วนพื้นที่น่าเป็นห่วงมีอยู่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.พิมาย อ.ครบุรี อ.เสิงสาง และ อ.ปากช่อง ทั้งนี้ ในจันทร์ที่ 17 ก.พ. ทางจังหวัดจะมีการประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางในการลดพื้นที่ทำนาปรังและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชในน้ำน้อย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค-บริโภค เพียงพอตลอดหน้าแล้งนี้

ด้าน นายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยสถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลัก ทั้ง 5 แห่ง ล่าสุด ระดับน้ำในแต่ละอ่างยังคงมีระดับน้ำที่เกือบเต็มความจุกักเก็บ อาทิ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 252 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 80.13% ของความจุ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ปริมาณน้ำ 103.05 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 94% อ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 283.96 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.26% อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 131.39 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 93.19 จากความจุ อ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 85.30 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87.04 % ทั้งนี้ ยืนยันว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่แต่ละอ่างนั้น มีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคอย่างแน่นอน


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook