ทีมโฆษกพท. เผยแผน "บันได 10 ขั้นล้มเลือกตั้ง" แจง 9 เหตุผลเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่โมฆะ

ทีมโฆษกพท. เผยแผน "บันได 10 ขั้นล้มเลือกตั้ง" แจง 9 เหตุผลเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่โมฆะ

ทีมโฆษกพท. เผยแผน "บันได 10 ขั้นล้มเลือกตั้ง" แจง 9 เหตุผลเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไม่โมฆะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่พรรคเพื่อไทย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด และน.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล พยายามคาดการณ์ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะ โดยนายอนุสรณ์ กล่าวถึงทฤษฎีสมคบคิด ที่เป็นเหมือนบันได 10 ขั้น นำไปสู่การปล้นอำนาจของรัฐบาล การล้มรัฐสภา และการล้มการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ คือ 1. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ทำการป่วนรัฐสภา ลากเก้าอี้ไปล้อมประธานรัฐสภา ปาแฟ้มเอกสารใส่ประธานสภาฯ รวมทั้งฉุดกระชากประธานรัฐสภาและเพื่อน ส.ส. 2. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้ลาออกจากเป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปตย์เพื่อไปเป็นแกนนำกลุ่ม กปปส. 3. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้นำ ส.ส. ในพรรคทั้งหมดลาออก เพื่อเป็นการกดดันรัฐบาล 4. ในเวลาถัดมาอดีตรัฐมนตรี และ ส.ส.พรรคประชาธิปปัตย์ ได้ลาออกตาม เพื่อไปขึ้นเวทีปราศรัยของ กปปส. 5. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอยคอทด์ การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยจะทำให้เป็นเหมือนในปี 49 ที่เป็นโมฆะมาแล้ว 6. กลุ่ม กปปส. ได้ก่อจลาจลขัดขวางการรับสมัครการเลือกตั้ง และใช้กลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดล้อมการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ และภาคใต้ที่เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 7. ใช้อาวุธสงครามหนัก ทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง ตามวิธีหลักสี่โมเดล 8. ส่งคนไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน และองค์กรอิสระ 9. ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจ และ 10. ศาลนัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันพรุ่งนี้ (21 มี.ค.) ซึ่งไม่ควรมีอำนาจตั้งแต่ต้น

ทั้งนี้นายอนุสรณ์ยังฝากคำถามไปถึงศาลแพ่ง ที่ยังมีคำสั่งคุ้มครองกลุ่ม กปปส. อยู่หรือไม่ เมื่อมีปรากฏการณ์มือปืนป๊อบคอร์น ที่สอดรับชัดเจนว่าการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ไม่ได้ดำเนินไปอย่างสันติอหิงสา และปราศจากอาวุธ

ขณะที่นางสาวอนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง 9 เหตุผลของพรรคเพื่อไทยที่การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมาจะไม่เป็นโมฆะ ว่า 1. งบประมาณกว่า 4 พันล้านบาทที่หายไปกับการเลือกตั้ง 2. พฤติกรรมของกลุ่ม กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ที่ชงกันเอง 3.คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) มีความพยายามย่อหย่อนต่อการจัดการเลือกตั้ง 4. พื้นที่ที่ไม่มีการจัดการเลือกตั้งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 5. การล้มล้างการเลือกตั้งที่มีประชาชนจำนวนมากออกไปใช้สิทธิ์ 6. ต่างประเทศจะขาดความเชื่อมั่น และจะมีความเสียหายทางเศรษฐกิจ มากกว่าตอนเกิดคลื่นสึนามิ 7. การเลือกตั้งเป็นการลดความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 8. หลายประเทศได้ออกมาสนับสนุนการเลือกตั้ง รวมทั้งองค์การสหประชาชาติ(UN) และ 9. ไม่ควรสนับสนุนผู้ที่ทำผิดกฎหมายอาญา ที่ต้องการล้มล้างการเลือกตั้งตามความต้องการ

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook