วาทกรรม ประชาธิปไตย

วาทกรรม ประชาธิปไตย

วาทกรรม ประชาธิปไตย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องของการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57เป็นโมฆะ และให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)และรัฐบาลไปหารือเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ กระแสการจัดตั้งรัฐบาลคนกลาง ขึ้นมาเพื่อหาทางออกของความขัดแย้งกำลังเป็นที่สนใจในแวดวงการเมือง ขึ้นมาทันที 

ส่วนหนึ่ง นักวิชาการ ซึ่งมองว่าปัญหาความขัดแย้งของคู่ขัดแย้งหลักหากไม่ยอมลดความต้องการลงมาก็ไม่สามารถหาทางออกได้ ปัญหาต่างๆก็ยังคงยันกันไปจนไม่รู้ว่าเมื่อไรจะจบ ดังนั้นการหาทางตกลงและยอมลดความต้องการ หรือ ยอมรับว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างหากจะให้เดินหน้าไปได้ต้องยอมเสียกันคนละส่วน ดังนั้น การมีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับขึ้นมาทำหน้าที่ตามกรอบที่ยอมรับกันได้ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดชัดเจนจึงน่าจะเป็นทางออกทางหนึ่ง
แต่อีกส่วนหนึ่งมองว่า อย่างไรเสีย รัฐบาลและ นายกรัฐมนตรีซึ่งกำลังถูกกฎหมายเล่นงานเพราะได้ทำความผิดไว้เยอะ และขณะนี้ปัญหากำลังประดังเข้ามา อย่างไรเสีย รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีคงหนีไม่พ้นต้องความผิดตามกฎหมายจนพ้นสภาพ ไม่สามารถรักษาการ รักษาอำนาจไว้ได้ จนเป็นเหตุให้จำเป็นต้องใช้ช่องทางตามกฎหมายที่มีอยู่ซึ่งยังไม่เคยใช้มาก่อนออกมาใช้ นั้นก็คือ การมีนายกคนกลางและรัฐบาลกลางตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 7
ซึ่งในแนวทางหลังนี้ ดูเหมือนจะเป็นกระแสหลักอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ รัฐบาลโดยเฉพาะทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทย และ ฝ่ายกฎหมาย ต่างออกมาปลุกกระแสต่อต้าน กันขนานใหญ่ โดยเฉพาะถึงกับชี้ว่า ช่องทางของมาตรา 7 ไม่สามารถใช้ได้ เพราะไม่มีเงื่อนไข และ การจะมีนายกคนกลาง เป็นหนทางของอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ทำไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับหากจะทำต้องฉีกรัฐธรรมนูญ
โดยแนวคิดนี้ ล่าสุดที่ออกมาตอกย้ำปลุกกระแสก็คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการที่ลงทุนเขียนความเห็นในโซเชียลมีเดียร์อย่าง เฟสบุ๊ค ว่า

"เห็นโผนายกฯคนนอกเป็นข่าวเกรียวกราว ชื่อคนที่เป็นข่าวก็มีทั้งคนดี พอใช้ได้และใช้ไม่ได้ปนกัน แต่หากใครได้เป็นนายกฯคนนอกขึ้นมาก็จะเป็นคนที่ใช้ไม่ได้หรือคนเลวทันที นี่ไม่ใช่เพราะอคติใดๆ แต่การเป็นนายกฯคนนอกจะเป็นได้ต่อเมื่อฉีกรัฐธรรมนูญ คนรับเป็นนายกฯคนนอกคือร่วมมือฉีกรัฐธรรมนูญ ทำลายประชาธิปไตย จึงต้องถือว่าใช้ไม่ได้และจัดเป็น"คนเลว" ไม่ใช่"คนดี" อย่างที่อ้างกัน แค่มีชื่อว่าจะเป็นแล้วไม่รีบปฏิเสธก็แย่แล้ว"

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า กระแสหลักที่พรรคเพื่อไทยตอกย้ำปลุกกระแสตลอดเวลาก็คือ คนนอก ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำลายประชาธิปไตย ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ โดยพยายามผูกขาดความเป็นประชาธิปไตยคือ ต้อง มีการเลือกตั้ง นายกต้องมาจากการเลือกตั้ง เท่านั้น

แต่ที่ผ่านมาในเชิงเนื้อหาของระบอบประชาธิปไตย กลุ่มนักการเมืองเหล่านี้ไม่เคยอธิบายและรักษาไว้ซึ่งจิตวิญญาณของประชาธิปไตยเอาไว้เลย จงใจสร้างความสับสนและอธิบายประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนวิถีแห่งประชาธิปไตย อย่างเช่น การเคารพเสียงข้างน้อย ไม่ปิดกั้นการแสดงความเห็นของเสียงข้างน้อย การยอมรับความคิดต่าง หลักของความรับผิดชอบในการบริหารเมื่อผิดผลาดฯลฯ กลับไม่ได้รับการอธิบายหรือใช้เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยเอาไว้
มีแต่อ้างรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่ต้องรักษาประชาธิปไตย คนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจึงเป็นพวกการเมืองเก่าไม่เป็นประชาธิปไตย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเพียงการสร้าง "วาทกรรมประชาธิปไตย" โดยไม่เคยรักษาเนื้อหาเอาไว้อย่างจริงจังเลย และสำหรับกรณี มาตรา 7 ต้องยอมรับว่า มีมาตรานี้อยู่จริง หากการเมืองถึงทางตันไม่สามารถเดินไปในแนวทางปรกติได้ อย่างเช่น ที่ นายธีระชัย ภูวนาภนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเขียนในเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า "หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วยกับศาลปกครองสูงสุดกรณีที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะเข้ามาตราเข้าข่ายเป็นการกระทำอันต้องห้าม ตามมาตรา 268 เมื่อใด นายกยิ่งลักษณ์จะพ้นตำแหน่งไปตามมาตรา 182 (7) ทันที และเมื่อความเป็นนายกรัฐมนตรีของคุณยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีก็จะพ้นตำแหน่งไปทั้งหมด ต้องมีการแต่ตั้งนายกและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทันที

ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 180 " รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 ..." แต่การแต่งตั้งดังกล่าว จะมีปัญหา
เพราะถึงแม้มาตรา 171 กำหนดไว้ว่า " .. นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.."
แต่การปฏิบัติตามมาตรานี้ กระทำไม่ได้ เพราะในขณะนี้ ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแม้แต่คนเดียว ผมจึงคิดว่าจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการตั้งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยมาตรา 7
สิ่งที่อดีตรัฐมนตรีคลังวิเคราะห์ข้อกฎหมายจึงน่าสนใจยิ่ง และจะเป็นช่องให้ใช้มาตรา 7ได้หรือไม่ต้องติดตาม และ ด้วยเหตุเหล่านี้หรือไม่ที่ ทีมกฎหมายทีมยุทธศาสตร์ของเพื่อไทยจึงต้องสร้าง "วาทกรรมประชาธิปไตย"ของตัวเองขึ้นมาเพื่อป้องกันและรักษาอำนาจของกลุ่มตัวเองเอาไว้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook