ศาลรธน.รับวินิจฉัยสถานภาพนายกฯ-ให้ชี้แจงใน15วัน

ศาลรธน.รับวินิจฉัยสถานภาพนายกฯ-ให้ชี้แจงใน15วัน

ศาลรธน.รับวินิจฉัยสถานภาพนายกฯ-ให้ชี้แจงใน15วัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ รับคำร้องไว้วินิจฉัยสถานภาพ นายกรัฐมนตรี คดีโยกย้าย 'ถวิล' ไม่ชอบ พร้อมให้มาชี้แจงภายใน 15 วัน - ยกคำร้องให้ กปปส. ยุติชุมนุม

ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติเอกฉันท์รับคำร้องกรณีที่ประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182(7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จากกรณีการโยกย้ายตำแหน่ง นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

โดยศาลพิจารณาเห็นว่า คำร้องดังกล่าวมีการยื่นมาตามช่องทางถูกต้องคือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา และประธานวุฒิสภา ได้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ จึงอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะรับพิจารณา จึงมีมติเอกฉันท์ รับคำร้องไว้พิจารณา และให้รักษาการนายกรัฐมนตรี ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำร้อง

นอกจากนี้ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติไม่รับคำร้องของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ผอ.ศรส.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 สั่งให้กลุ่ม กปปส. ยุติการชุมชุม โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นการใช้สิทธิ์ชุมนุมตาม
รัฐธรรมนูญมาตรา 63 และเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครอง และกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ
ปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ชุมนุมมีการกระทำเกี่ยวกับการปิดเส้นทางการจราจร การดาวกระจาย และเข้ายึดพื้นที่หน่วยงานราชการ ขัดขวางการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่ผู้ถูกร้องจะต้องรับผิดชอบในความผิดทางอาญาและตามกฎหมายฉบับต่างๆ ซึ่งทางศาลอาญาได้ออกมายจับผู้ถูกร้องไปจำนวนหนึ่งแล้ว กรณีตามคำร้องจึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง ได้ คำขออื่นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณา


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook