นายกฯ นำถกครม. ปทุมแล้ว-ภราดรชงต่อพรบ.มั่นคง61วัน

นายกฯ นำถกครม. ปทุมแล้ว-ภราดรชงต่อพรบ.มั่นคง61วัน

นายกฯ นำถกครม. ปทุมแล้ว-ภราดรชงต่อพรบ.มั่นคง61วัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกรัฐมนตรี นำถก ครม. ปทุมธานีแล้ว ขณะ 'สุรพงษ์' เชื่อ 'พล.อ.เปรม' ไม่เห็นด้วย ข้อเสนอรัฐบุคคล ชี้ 'อภิสิทธิ์' ไม่จริงใจ ด้าน 'ภราดร' เผย ต่อ พ.ร.บ.ความมั่นคง 1 พ.ค. - 30 มิ.ย. รวม 61 วัน ยัน ยังไม่ใช้กฎหมายพิเศษคุม 2 ม็อบ

ล่าสุด น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาเป็นประธานการประชุม
คณะรัฐมนตรี ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า จ.ปทุมธานี แล้ว

ขณะที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า
การชุมนุมของทั้ง 2 กลุ่ม ในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง ศอ.รส. มีการขออนุมัติการปรับกำลังเจ้าหน้าที่ทหารออก 3,000 - 4,000 นาย โดยจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าเสริมแทน ซึ่งตำรวจ จะช่วยดูแลการจราจร และเส้นทางต่าง ๆ ด้วย ขณะที่ไม่อยากเห็นการเผชิญหน้าหรือมีการปะทะกัน อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ ศอ.รส. จะขออนุมัติศาลออกหมายจับ 80 แนวร่วม กปปส. ที่พกพาอาวุธก่อให้เกิดความรุนแรงต่อไป

จากการติดตาม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้ให้นายทหารคนสนิทออกมาปฏิเสธข้อเสนอของ พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. ประธานรัฐบุคคล เชื่อว่า พล.อ.เปรม ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว และเป็นการจิตนาการ หรือคิดไปเองของ พล.อ.สายหยุด มากกว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อประเทศไทยเกิดวิกฤติ จะมีทางออกอย่างแน่นอน

พร้อมมองว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีความจริงใจ ในการออกมาเดินสายหารือ
เพื่อแก้ไขปัญหาประเทศ เป็นเพียงการพยายามทำเพราะหวังผลประโยชน์เพื่อตัวเอง และควรจะหันไปตกลงกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ให้ได้ความชัดเจน ก่อนจะหารือกับบุคคลต่าง ๆ

 

'ภราดร' เผย ต่อ พ.ร.บ.ความมั่นคง1พ.ค.-30 มิ.ย.

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. กล่าวว่า จะเสนอต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน รวม 61 วัน เพราะจากการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว พบว่ายังมีแนวโน้มการเผชิญหน้าของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมทั้งมีกระแสข่าวมือที่สาม ซึ่งส่วนหนึ่ง แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม และยังอยู่ในช่วงของการเตรียมการเลือกตั้งครั้งใหม่

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประเมินสถานการณ์เป็นระยะ และเห็นว่าขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายพิเศษเข้ามาดูแลการชุมนุมทั้ง 2 กลุ่ม เพราะศักยภาพของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังสามารถดูแลสถานการณ์ภาพรวมได้

 

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook