ถอดความแล้ว จารึกแผ่นทองคำสวนปาล์มพัทลุง

ถอดความแล้ว จารึกแผ่นทองคำสวนปาล์มพัทลุง

ถอดความแล้ว จารึกแผ่นทองคำสวนปาล์มพัทลุง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(1 ก.ค.) เฟซบุ๊ก Silpakorn University โพสต์ข้อความและรูปถ่ายทองคำซึ่งขุดพบที่สวนปาล์มพัทลุง จนสร้างความฮือฮาให้ชาวบ้านเป็นอย่างมาก โดยระบุว่า อาจารย์ม.ศิลปากร ได้วิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ประทับลงบนแผ่นทองคำ 

"เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ "อาจารย์อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช" ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้วิเคราะห์ตัวอักษรจีนที่ประทับลงบนแผ่นทองคำไว้อย่างน่าสนใจ โดยอธิบายว่าแผ่นทองคำที่พบนั้นทำหน้าที่แลกเปลี่ยนซื้อขายแทนเงินตราเนื่องจากในสมัยโบราณเงินเหรียญมีน้ำหนัก ยากแก่การพกพา จึงคิดทำแผ่นทองขึ้นมาใช้แทนเปรียบเสมือนกับธนบัตรที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการผลิตทองคำแผ่น ต้องมีการสัมปทานจากรัฐ หรือราชสำนัก เมื่อได้ทองคำเป็นแผ่นมาแล้วก็จะนำมาพับ และปั๊มตัวหนังสือลงไปบริเวณมุมแผ่น และกลางแผ่นทองคำ สังเกตุดูจะพบว่ามีตัวหนังสือคล้ายๆกันกระจายไปทั่วทั้งแผ่น

ตัวอย่างทองคำแผ่นหนึ่งจากตัวหนังสือจีนที่พออ่านได้ บอกถึงสถานที่ผลิตชื่อว่า "ป้าเป่ยเจียซี"

ป้าเป่ยคือชื่อของสถานที่ เจียแปลว่าถนน ซี แปลว่าตะวันตก เมื่อแปลความหมายโดยรวมแล้วหมายถึง โซนฝั่งตะวันตกของถนนป้าเป่ย หรือถนนป้าเป่ยฝั่งตะวันตก ชื่อป้าเป่ย เป็นคำโบราณ ซึ่งนักวิจัยพบว่าชื่อนี้ใช้เรียกกันในสมัยราชวงศ์ ชุ้งใต้ ปัจจุบันไม่พบชื่อนี้แล้ว (ป้าเป่ยเจียซี เป็นสถานที่แห่งหนึ่งอยู่บริเวณทะเลสาบซีหู เมือง หางโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในปัจจุบัน)

ตำแหน่งต่อไปพบบริเวณส่วนกลางของแผ่นทองคำคือชื่อผู้การันตี หรือรับรองคุณภาพทองคำว่าเป็นทองคำแท้ จากอักษรตัวนามสกุลอ่านได้ว่า แซ่หาน แต่ชื่อไม่สามารถอ่านได้เนื่องจากตัวหนังสือไม่ชัดเจน และท้ายสุดเป็นอักษรที่บอกเปอร์เซ็นต์ทอง ซึ่งอ่านได้ว่า "สือเฟินจิน" สือเฟินแปลว่าสิบส่วน จิน แปลว่าทอง รวมแล้วหมายถึงทองคำสิบส่วน ซึ่งการบ่งบอกถึงสัดส่วนทองถือเป็นการบอกระดับคุณภาพของทอง ซึ่งทองสิบส่วนถือเป็นทองที่มีคุณภาพสูงหรือเปอร์เซ็นต์ทองคำสูง และทองคำแต่ละแผ่นที่พบมีลักษณะคล้ายๆกันคือมีชื่อผู้ผลิต ชื่อผู้การันตี และค่าเปอร์เซ็นต์ทอง

ที่น่าสังเกตุคือทองบางแผ่นมีลักษณะฉีกขาดมาแต่เดิมอันเนื่องมาจากการฉีกใช้ซื้อสินค้าตามมูลค่าของสินค้านั้นๆ นั่นเอง"

ที่มาจากเฟซบุ๊ก Silpakorn University

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook