เรื่องเล่าสุดสลด เหตุสะเทือนขวัญเด็กอายุ 4 ขวบหายตัว

เรื่องเล่าสุดสลด เหตุสะเทือนขวัญเด็กอายุ 4 ขวบหายตัว

เรื่องเล่าสุดสลด เหตุสะเทือนขวัญเด็กอายุ 4 ขวบหายตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณี รปภ. อพาร์ตเมนต์ย่านรัชดา-ท่าพระ ก่อเหตุฆ่าด.ญ. วัย 4 ขวบ  ยัดถุงดำซุกท่อระบายน้ำ เบื้องหลังกว่าจะพบศพน้อง มีเรื่องเล่าที่ฟังแล้วสลดใจกับกระบวนตามหาน้อง 

โดย เฟชบุ๊ค ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ได้ลำดับเหตุการณ์ ที่พ่อแม่ด.ญ. วัย 4 ขวบ ต้องตระเวนแจ้งความอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการติดตามจากเจ้าหน้าที่ จนต้องมีการโทรศัพท์ไปยังตำรวจชั้นผู้ใหญ่ กระบวนการติดตามจึงเกิดขึ้น รวมถึงการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดของกทม. ที่ต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการมากมาย จนสุดท้ายก็สายไปเสียแล้วที่จะยื้อชีวิตด.ญ. วัย 4 ขวบ ไว้ได้ 

★★ถอดบทเรียนกระบวนการรัฐในการตามหาเด็กหายวัย 4 ขวบรายล่าสุด★★★

>>>ลำดับกระบวนการ<<<

(1)
เด็กหายไปช่วงเย็นวันพุธที่ 3 กันยายน 2557 - ครอบครัวออกตามหาโดยรอบบริเวณแถวบ้านและเดินทางไปโรงพัก เพื่อสอบถามว่ามีเด็กพลัดหลงถูกนำส่งหรือไม่ ครอบครัวเด็กบอกว่าไปโรงพักในวันที่เด็กหายทั้งหมด 3 ครั้ง คือเวลาประมาณ สองทุ่ม , ห้าทุ่ม และตีห้าของวันรุ่งขึ้น จนครอบครัวเดินทางไปแจ้งความอีกครั้งและได้รับใบแจ้งความ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน 2557 เวลา 10.10 น.

ในคืนวันที่เด็กหายไป และครอบครัวเดินทางไปติดต่อโรงพัก (คืนวันพุธที่ 3 กันยายน) ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่มาช่วยติดตามหาเด็กในพื้นที่

(2)
การดูกล้องวงจรปิดในพื้นที่ ครอบครัวนำหนังสือที่ทางตำรวจออกให้ ไปดูกล้องที่ร้านสะดวกชื้อและบริเวณอาคารใกล้เคียงด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่ได้รับความร่วมมือด้วยดี ยกเว้นจุดเกิดเหตุที่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยประสานและเข้าไปดูกล้องจนพบข้อเท็จจริงและศพเด็กในเวลาต่อมาภายหลัง

(3)
กล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานคร ยังไม่สามารถดูได้ทันที ครอบครัวเด็กไปเดินเรื่องที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และต้องใช้เวลา 3 วันทำการในการดูภาพได้ ซึ่งต่อมาภายหลังพบศพเด็กก่อนได้ดูภาพ

(4)
ครอบครัว แจ้งความกับตำรวจสองแห่ง คือ สถานีตำรวจนครบาลบุคคโล ท้องที่เกิดเหตุ และกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (กก.ดส.) โดยครอบครัวเดินทางไปแจ้งเรื่องด้วยตนเองทั้งสองแห่ง

(5)
ผู้สื่อข่าวรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ประสานงานไปยังนายตำรวจระดับสูง จึงได้มีการประสานงานสั่งการไปยังโรงพักท้องที่ และมีตำรวจลงพื้นที่ครั้งแรก (ตามคำบอกเล่าของครอบครัว) คือช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2557 ซึ่งเด็กหายไปแล้ว 2 วัน

(6)
หลังจากตำรวจลงพื้นที่ในวันศุกร์ที่ 5 กันยายน ได้มีการลงพื้นที่ติดตามอย่างต่อเนื่องในวันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2557 โดยตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.บุคคโล และ กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (กก.ดส.) จนกระทั่งข้อมูลสำคัญจากภาพกล้องวงจรปิดในจุดเกิดเหตุ และมีกลิ่นศพเด็ก จึงทำให้พบศพเด็กในที่สุด

(7)
พนักงานสอบสวน สน.บุคคโล ใช้เวลาในการรวบรวมพยานหลักภายในวันที่พบศพเด็ก และออกหมายจับ จนสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ในวันเดียวกันนั้นเอง

>>>ข้อสังเกต-บทเรียนสำคัญ<<<

(1) ครอบครัวเดินทางไปโรงพักถึง 4 ครั้งกว่าจะได้รับใบแจ้งความ ข้อจำกัดอาจเป็นเพราะเกิดเหตุในช่วงเวลากลางคืน เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งผลัดเวรออกไปแล้ว อาจคงเหลือกำลังเพียงบางส่วนประจำการอยู่บนสถานี

(2) การติดตามหาเด็กหาย หลังจากการแจ้งความยังไม่มีกระบวนการติดตามหาโดยทันที ด้วยอาจถูกประเมินว่า เด็กอาจวิ่งเล่นซนในพื้นที่ จนทำให้ไม่มีการลงพื้นที่ติดตามหาโดยทันที ซึ่งปกติกระบวนการในการติดตามหาพนักงานสอบสวนจะต้องประสานสายตรวจ และเจ้าหน้าฝ่ายสืบสวนไปลงพื้นที่ติดตาม

(3) เด็กอายุเพียง 4 ขวบหายตัวไป น่าจะเป็นคดีสำคัญที่ถูกรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูง ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาระดับสูง ทราบเรื่องจากการรายงานของสื่อมวลชน ดังนั้น กรณีเด็กหายอาจจะยังไม่ถูกจัดเป็นคดีสำคัญที่ต้องรายงานผู้บังคับบัญชา

(4) กล้องวงจรปิดของรัฐ มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่สามารถดูข้อมูลได้ทันที และต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งอาจไม่ทันต่อเวลาในการช่วยเหลือเด็ก

(5) ภายหลังจากมีการประสานสั่งการจากตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มีการลงพื้นที่สืบสวนหาข่าวอย่างเต็มกำลัง ถือว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ แต่แน่นอนว่า กระบวนการนี้ควรเริ่มต้นตั้งแต่ครอบครัวไปแจ้งความที่โรงพักในครั้งแรก

(6) ศูนย์บริหารจัดการคนหายและศพนิรนามของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สายด่วน 1599) หรือเรียกสั้นๆ ว่าศูนย์คนหายตำรวจ ทำหน้าที่ประสานสั่งการไปยังโรงพักต่างๆ ที่รับแจ้งความไว้ เพื่อเร่งรัดติดตามความคืบหน้าของการตามหาคนหายที่สายด่วนตำรวจรับแจ้งคนหายมา ตลอดจนประสานสัมพันธ์ข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นายในการดึงข้อมูลจากการรับแจ้งผ่านสายด่วน มาประสานติดตามเรื่องให้ ซึ่งอาจไม่เพียงพอ และโครงสร้างไม่ถาวร หากเจ้าหน้าที่ท่านนั้นย้ายไปหรือมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้รับผิดชอบของศูนย์คนหายตำรวจ

สุดท้ายนี้ผมเห็นความตั้งใจและความพยายามในการติดตามหาเด็กหายหลายรายที่ผ่านมาของตำรวจหลายพื้นที่ ข้อเขียนนี้ไม่มีเจตนาตำหนิหรือยุยงใหัประชาชนเกลียดชังเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่มีเจตนาให้เห็นช่องว่างและอุปสรรคสำคัญที่ประชาชนพบเจอ เชื่อว่าถ้าท่านมองเห็นกระบวนการเหล่านี้ ท่านจะแก้ไขปัญหาหรืออุดช่องว่างนั้นได้ในเคสต่อๆไป

เป็นกำลังใจให้ตำรวจที่มุ่งมั่นทำงานและหวังว่าข้อมูลนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคตครับ

ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา
8. กันยายน 2557

 

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟชบุ๊ค ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ได้ลำดับเหตุการณ์ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook