ไทยปิดประตูตี "อีโบลา" ค้นพบยาต้านได้สำเร็จ
"อีโบลา" ชื่อนี้เป็นที่คุ้นหูของชาวโลกหลังเกิดการแพร่ระบาดในแถบประเทศแอฟริกาตะวันตก (กินี,ไลบีเรีย, เซียราลีโอน ไนจีเรีย) ซึ่งสายพันธุ์ที่รุนแรงมากที่สุดคือ "zaire ebolavirus" สร้างความหวาดกลัวให้กับมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื้ออีโบลาร้ายแรงถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เลยถ้ายังไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดได้ที่สำคัญไม่มียารักษาโดยตรง
จากการรายงานข่าวของสื่อทั่วโลกตีแผ่ตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศที่มีการระบาดสูงถึง 3 พันคนและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในนั้นมีบุคลากรทางการแพทย์รวมอยู่ด้วย หลายประเทศเริ่มมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างจริงจัง มีการเฝ้าระวังกลุ่มคนที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงพร้อม ๆ กับให้ความรู้วิธีการรักษาตนเองให้ห่างจากเชื้ออีโบล่า
ความจริงของเชื้ออีโบลาอันตรายและน่ากลัวจริง แต่ยากต่อการติดต่อถ้าหากไม่ได้ไปสัมผัสสารคัดหลั่งจำพวก น้ำมูก น้ำลาย น้ำเหลืองจากผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไม่ได้แพร่อยู่อากาศง่าย ๆ คือไม่เหมือนโรคไข้หวัดและอีกหนึ่งความจริงคือหากเป็นแล้วโอกาสรอดชีวิตเปอร์เซ็นต์ยังต่ำเพราะยังไม่มียารักษาโดยตรง
แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อการรักษาอีโบลายังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะ การรักษาหลัก ๆ คือการประคับประคองอาการของผู้ป่วยเท่านั้น
และเป็นที่ฮือฮาก่อนหน้านี้ มีการใช้ยาต้านไวรัสชื่อว่า Favipiravir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่มีการรับรองให้ใช้ได้ในญี่ปุ่นสำหรับรักษาไข้หวัดใหญ่แล้ว มีการทดลองกับหนูสามารถลดระดับเชื้อไวรัสอีโบลาได้ ตอนนี้อยู่ในขั้นทดสอบกับผู้ป่วยในประเทศไนจีเรีย
แล้วโลกต้องตะลึงเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลว่าประเทศไทยสามารถผลิตยารักษาโรคอีโบลาได้แล้ว เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจากทีมวิจัยจากโรงพยาบาลศิริราชกับการผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ ซึ่งในวันนี้มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ สื่อต่างชาติให้ความสนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย
ด้าน ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา หัวหน้าทีมผู้ผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือกออกอีโบลา ได้กล่าวว่า แอนติบอดี คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีการสร้างจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของมนุษย์ ซึ่งจะสร้างขึ้นหลังจากที่ได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แอนติบอดีจะถูกผลิตออกมาจากเม็ดเลือดเรียกว่า ลิมโฟชับท์บี โดยร่างกายจะใช้เวลา 7-10 วัน ซึ่งถือว่าล่าช้าสำหรับการสร้างการป้องกันดังกล่าวจึงมักจะเสียชีวิตก่อน
ซึ่งสามารถสร้างแอนติบอดิจำเพาะขึ้นมาเพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสอีโบลา พร้อมกับเตรียมไว้ใช้แก่ผู้ป่วยได้ทันทีเรียกว่า ภูมิคุ้มกันพร้อมใช้หรือแอนติบอดีรักษา
โดยแอนติบอดีจำเพาะที่คณะแพทย์วิจัยผลิตขึ้นนั้น มีคุณสมบัติพิเศษที่มีขนาดเล็กกว่าแอนติบอดีตามปกติ เรียกว่า แอนติบอดีสายเดี่ยว สามารถเข้าไปในเซลล์ที่ติดเชื้อได้และมีความจำเป็นต่อโปรตีนของไวรัสอีโบลา ชนิดจีพีหนึ่ง-จีพีสอง นิวคลีโอโปรตีน ไวรัสโปรตีน 40 35 โดยจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของไวรัสอีโบลาได้
ไวรัสมรณะ "อีโบลา" ถ้าแอนติบอดีรักษาโรคอีโบลาสำเร็จ หมู่มวลมนุษยชาติได้เฮกันแน่นอน และ อีโบลา จะคงเป็นแค่ตำนานความน่ากลัวประหนึ่งโรคห่า (อหิวาต์) ที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดบนโลกใบนี้ แม้จะยังไม่หมดไปแต่สามารถควบคุมได้จนเกือบจะหมดไป