จุฬาฯ ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯ ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯ ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก ทั้งไส้เดือน ตะขาบ และปลิงควาย ระบุเป็นทรัพยากรชีวภาพที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งการแพทย์ เกษตรและสิ่งแวดล้อม

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แถลงข่าวเปิดตัวไส้เดือนสายพันธุ์ของไทยกว่า 50 สายพันธุ์ และไส้เดือนชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ ที่พบในระบบนิเวศที่หลากหลายของไทย ซึ่งจะเป็นการพัฒนางานวิจัยด้านอนุกรมวิธานและซิสเทมาติกส์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ได้แก่ หอยทาก กิ้งกือ ตะขาบ และไส้เดือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค้นพบทรัพยากรชีวภาพที่มีคุณค่าของชาติที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร และสิ่งแวดล้อม

ศ.สมศักดิ์ ปัญหา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกของสัตว์ จุฬาฯ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะนักวิจัยได้ค้นพบไส้เดือนชนิดใหม่ในประเทศไทยมากกว่า 20 สายพันธุ์ ชนิดที่โดดเด่นน่าสนใจ ได้แก่ ไส้เดือนยักษ์สุรินทร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าไส้เดือนธรรมดาถึง 20 เท่า ไส้เดือนทะเล ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบว่าที่ทะเลใต้ชายหาดมีไส้เดือนเป็นล้านๆ ตัว สามารถปรับตัวให้อยู่ในดินเค็มและช่วยทำหน้าที่เป็นเทศบาลกำจัดสิ่งปฏิกูลทำให้ชายหาดสะอาด ตลอดจนไส้เดือนสะเทินที่พบสายพันธุ์ใหม่กว่า 10 ชนิด

นอกจากนี้ ยังค้นพบ "ปลิงควายนครพนม" ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ที่สำคัญ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักวิจัยยังได้ค้นพบตะขาบชนิดใหม่ของโลก "ตะขาบม่วงสิมิลัน" จากหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา และได้รับพระราชทานชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "violaceus" หมายถึงสีม่วงของลำตัวตะขาบ ซึ่งตรงกับสีวันพระราชสมภพ

ขอบคุณภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ, Thaipbs

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ จุฬาฯ ค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook