ครบรอบ 41 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 "วันมหาวิปโยค"

ครบรอบ 41 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 "วันมหาวิปโยค"

ครบรอบ 41 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 "วันมหาวิปโยค"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พูดถึง 14 ตุลา

ต้องพูดถึงรัฐธรรมนูญ และการพัฒนาประชาธิปไตย

วันนี้เป็นวันครบรอบ 41 ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 อันเป็นวันที่นิสิตนักศึกษาประชาชนกว่า 5 แสนคน ลุกฮือขึ้นเรียกร้องรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง เรียกร้องประชาธิปไตย และขับไล่รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ในเวลานั้นสั่งปราบปรามโดยใช้อาวุธสงคราม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก สังคมได้ยกย่องบุคคลผู้เสียสละเหล่านี้เป็นวีรชน

14 ตุลา ไม่ได้เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน แต่เป็นผลต่อเนื่องหลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารโค่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี 2500 แล้วจัดเลือกตั้งในตอนปลายปี 2500 ก่อนจะกลับเข้ายึดอำนาจขึ้นเป็นนายกฯเองในปี 2501 จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2506 จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกฯแทน และจัดเลือกตั้งทั่วไปในปี 2512 โดยตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาสนับสนุนตัวเองเป็นนายกฯ สุดท้ายจอมพลถนอมปฏิวัติตัวเองในเดือน พ.ย.2514 ก่อนจะถูกขับไล่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่าง 2501-2516 ได้แก่ ระบบบริหารของคณะรัฐประหารที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ถึงประสิทธิภาพ มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ขนาดที่จอมพลถนอมเอง ได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ของจอมพลสฤษดิ์ 600 ล้านบาท นิสิตนักศึกษาตื่นตัวขึ้นสนใจการเมืองและรวมตัวเป็นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย คัดค้านการลบชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ประท้วงการต่ออายุอธิการบดีในขณะนั้น และเมื่อกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญออกมาเคลื่อนไหวและถูกรัฐบาลจับกุม ก็กลายเป็นพลังสำคัญในการกดดัน จนสุดท้าย จอมพลถนอม และจอมพลประภาส จารุเสถียร ต้องพ้นอำนาจลี้ภัยไปต่างประเทศ

14 ตุลา 16 เปิดยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน 3 ปี ก่อนปิดฉากด้วยรัฐประหารนองเลือด 6 ตุลา 19 เป็นบทเรียนที่ชี้ว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่เกิดขึ้นเอง แต่เกิดขึ้นด้วยการต่อสู้อย่างทุ่มเทเสียสละของประชาชน การได้มาซึ่งประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่การรักษาเอาไว้ยิ่งเป็นเรื่องยากไม่แพ้กัน เพราะประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้คิดให้พูด การวิพากษ์ตัวระบอบประชาธิปไตยเองก็ทำได้อย่างเสรี ทำให้เกิดการใส่ร้ายบิดเบือนด้วยวาทกรรมที่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การรักษาระบอบประชาธิปไตยจึงมีความสำคัญ โดยจะต้องหวงแหนเห็นถึงคุณค่าและอนาคตของระบอบนี้ มิให้มีผู้มาฉกฉวยไปได้อย่างง่ายๆ

ลิฟท์แดง
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจาก 14 ตุลาคม 2516 เป็นการประท้วงการกลับมาของพระถนอม ซึ่งถูกทำให้บิดเบือนว่าเป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทั้งที่จริงเป็นการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย และต่อต้านการกลับมามีอำนาจอีกครั้งของพระถนอม

มีเรื่องเล่าว่าเมื่อตอนเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ที่มีการปราบปรามการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา โดยได้มีการระดมยิงเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้ผู้ที่ชุมนุมประท้วงอยู่ต่างพากันวิ่งหลบหนีไปตามส่วนต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีผู้ประท้วงส่วนหนึ่ง ได้วิ่งหนีเข้าไปหลบในลิฟท์ของตึกคณะศิลปศาตร์ ด้วยความหวังว่าจะใช้ลิฟท์ตัวนี้เพื่อหลบหนีไปชั้นอื่น แต่พอลิฟต์เปิดออกพวกทหารก็กระหน่ำยิงเข้าไปในลิฟต์ ทำให้ผู้ที่อยู่ในลิฟต์ถูกยิงตายทั้งหมด โดยเลือดของผู้เสียชีวิตได้กระจัดกระจายแดงฉานไปทั่ว...

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ ครบรอบ 41 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 "วันมหาวิปโยค"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook