เริ่มวันนี้! สปช.ประชุมใหญ่ คาด ถกเดือด ประเด็นที่มานายกฯ

เริ่มวันนี้! สปช.ประชุมใหญ่ คาด ถกเดือด ประเด็นที่มานายกฯ

เริ่มวันนี้! สปช.ประชุมใหญ่ คาด ถกเดือด ประเด็นที่มานายกฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้จะมีการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นวันแรก เพื่อพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่าประเด็นการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็น่าจะเป็นประเด็นที่จะมีการถกเถียงอย่างหนัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันแรก สภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีการประชุม เพื่อพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 15-17 ธันวาคม โดยจะเป็นการประชุมกลั่นกรองและเน้นการนำเสนอ ประกอบกับการอภิปรายบนหลักเหตุผล ที่มีรายละเอียดในประเด็นข้อดีและข้อเสียของแต่ละข้อเสนออย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ประเด็นที่เป็นประโยชน์เพื่อประกอบการพิจารณา ในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป โดยจะมีการถ่ายทอดสดการประชุม สปช.ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หรือเอ็นบีที สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐสภา ตลอด 3 วัน

โดย นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เปิดเผยถึงขั้นตอนการประชุมในวันที่ 15-17 ธันวาคม เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้าน ว่า วันนี้และวันพรุ่งนี้จะเป็นการฟังความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป วันละ 7 ด้าน เริ่มจากกลุ่มที่มีเนื้อหาเบาก่อน และเปิดโอกาสให้ สมาชิก สปช. อภิปรายความเห็นต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านต่างๆ ส่วนวันที่ 17 ธันวาคม จะรับฟังความเห็นอีก 4 ด้านที่เหลือ ซึ่งจะมีเนื้อหาค่อนข้างหนัก คือ คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมาธิการบริหารราชการแผ่นดิน คณะกรรมาธิการปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง

เมื่อสมาชิกสปช.อภิปรายครบถ้วนแล้ว จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงการตั้งข้อสังเกตของ สปช. จากนั้นที่ประชุม สปช.จะลงมติว่า จะส่งความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูป 18 ด้านให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนประเด็นที่สปช.มีการท้วงติงความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปอย่างหนัก จะมีการแนบข้อสังเกตของสมาชิกสปช.เป็นความเห็นประกอบไว้ในรายงานที่ส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ซึ่งประเด็นที่คาดว่าจะถกเถียงกันอย่างหนัก คือข้อเสนอการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งมีสปช.เห็นต่างจำนวนมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ ที่สปช.ยังมีข้อข้องใจว่า จะเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จมากเกินไปหรือไม่ และถ้าไม่มีการลงมติไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ จะมีการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารอย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook