ช้างดุร้าย เกิดจากฝีมือมนุษย์ เสนอลดเวลาขึ้นลงเขาใหญ่

ช้างดุร้าย เกิดจากฝีมือมนุษย์ เสนอลดเวลาขึ้นลงเขาใหญ่

ช้างดุร้าย เกิดจากฝีมือมนุษย์ เสนอลดเวลาขึ้นลงเขาใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และถูกช้างป่าเหยียบรถ เจ้าหน้าที่จึงแนะนำวิธีการเผชิญหน้า และสังเกตอาการช้างป่า ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องช้าง มองว่าที่ช้างดุร้ายในช่วงนี้ น่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ไปสร้างความหงุดหงิดให้ช้าง พร้อมเสนอให้ลดเวลาการขึ้นลงเขาใหญ่ ไม่ให้ไปรบกวนช้าง

นางมัทนา ศรีกระจ่าง อดีตนักวิทยาศาสตร์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า นักวิชาการที่ทำงานคลุกคลีกับการดูแลสัตว์ป่ามาทั้งชีวิต เล่าถึงพฤติกรรมของช้างป่าว่า ปกติช้างไม่ใช่สัตว์ดุร้าย ยกเว้นเชือกที่เคยถูกทำร้าย จะมีความจำดี ช้างป่าจะหวงลูกมาก เพราะตั้งท้องนานถึง 22 เดือน และเมื่อคลอดออกมาแล้ว ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าจะตั้งท้องที่ 2 ได้อีก ทำให้ช้างป่าพ่อแม่ลูกอ่อนอาจมีพฤติกรรมดุร้าย ปกป้องลูก ปัจจุบันเขาใหญ่มีช้างป่าอยู่ประมาณ 250 เชือก

ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ นางมัทนา มองว่า เกิดจากการที่มนุษย์ขึ้นไปเที่ยวป่ามากเกินไป อาจไปสร้างความหงุดหงิดใจให้กับช้างป่า เค้ายกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดเจน ทุกวันนี้ช่วงเย็นช้างป่าจะออกมาหาอาหาร แต่เมื่อเจอนักท่องเที่ยว กลับตามเจ้าหน้าที่มาไล่ให้ช้างป่ากลับเข้าไปในป่า บ้างใช้เสียง บ้างใช้หนังสติ๊ก ทำให้ช้างไม่พอใจ วันนี้ได้เสนอไปยังหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ลดเวลาการขึ้นลง จากเดิมปิดทางขึ้นลง 21.00-06.00 เป็น 16.00-09.00 เพื่อไม่ให้รบกวนสัตว์ป่า

ด้าน นายธัญญา เนติธรรมกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยอมรับตั้งแต่ปีใหม่ มีนักท่องเที่ยวขึ้นเขาใหญ่มากเกินกำลังที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปดูแล โดยเฉพาะฝั่งทางขึ้นจากจ.ปราจีนบุรี มีจุดล่อแหลมที่ช้างป่ามักจะออกมาบนถนนถึง 8 จุด พร้อมแนะนักท่องเที่ยว ขอให้อยู่ห่างจากช้างป่า 30 เมตร เตรียมพร้อมตั้งลำกลับรถทันที หากเห็นพฤติกรรมช้างที่ไม่เป็นมิตร

ในระยะนี้ ทางอุทยานจะส่งเจ้าหน้าที่ตระเวรดูแลนักท่องเที่ยวในช่วงเช้า และเย็น ซึ่งเป็นเวลาออกมาหาอาหารช้างให้มากขึ้น แต่หากยังเกิดปัญหาต่อเนื่อง ทางกรมฯ อาจพิจารณานำแนวรั้วไฟฟ้ามาใช้ ตามจุดเสี่ยงที่ช้างป่ามักออกมาหากิน - สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook