อ.จุฬา ไขปริศนา "คางคกกินงู" หรือ "งูกินคางคก"
จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปการต่อสู้กันระหว่าง งูกับคางคก ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งของธรรมชาติ แต่ได้เกิดคำถามที่ตามมาว่าปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ว่าเป็น "คางคกกินงู" หรือ "งูกินคางคก" กันแน่
ซึ่งเรื่องนี้ ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ถึงกรณีดังกล่าว โดยบอกว่า "ได้คำถามจากช่อง 3 แต่เช้า ว่าคลิปนี้ "คางคกกินงู" หรือ "งูกินคางคก" .... ผมดูแล้ว ตอบว่า ... หลักฐานไม่พอฟันธง รู้แค่มันสู้กัน คางคกเหมือนกับจะตายแล้วเพราะขาไม่กระดิกไม่ขยับเลย แต่ปากคงงับงูค้างอยู่ งูเลยออกไม่ได้
คือ คางคกน่ะ ตามธรรมชาติ มันคงกินได้แค่ลูกงูตัวเล็กๆเท่าไส้เดือน ไม่ไปกินงูตัวขนาดนี้... ส่วนงูเอง ถ้าจะกินคางคก ก็น่าจะอ้าปากถอดขากรรไกรไปเขมือบคางคกแล้ว ไม่มามุดกินตับคางคกอย่างนี้หรอก (อย่างเรื่องงูเขียวกินตับตุ๊กแกเนี่ย ผมว่าจริงๆแล้วคือตุ๊กแกกำลังกินงูเขียวตัวเล็กๆ)
ถ้าคลิปมันยาวกว่านี้ ก็คงจะชัดว่าลงเอยยังไง ใครกินใครแน่ ...