ยูเนสโกบอก เด็กไทยไม่ได้เรียนถึง 6 แสนคน..?

ยูเนสโกบอก เด็กไทยไม่ได้เรียนถึง 6 แสนคน..?

ยูเนสโกบอก เด็กไทยไม่ได้เรียนถึง 6 แสนคน..?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในขณะที่สถานการณ์การเมืองมีเค้าความร้อนแรง ส่อไปในทางการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง ซึ่งสถานการณ์จะเดินหน้าหรือหยุดยั้งลงหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูกันต่อ แต่ เมื่อวานนี้ (9 มี.ค.) มีประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจและน่าตกใจอยู่ไม่น้อยเมื่อ...ยูเนสโก ออกมาเปิดเผยว่า มีเด็กไทยในวัยประถมที่ไม่ได้รับการศึกษาและลาออกกลางครันสูงถึง เกือบ 6 แสนคน สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์

โดยทางยูเนสโกรายงานว่าทั่วโลกมีเด็กที่ไม่ได้เรียนสูงถึง 67 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยมีเด็กที่ไม่ได้เรียนรวมถึงการลาออกกลางคันจำนวน 5.8 แสน คน โดยตัวเลขนี้จะทำให้ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไทยถึง3.3แสนล้านบาท หรือ 3 % ของจีดีพีในทุกปี

ทั้งนี้ยูเนสโกยังรายงานด้วยว่า ระบบการศึกษาไทยยังให้ความสำคัญต่อปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาน้อยมาก เพราะนักการเมือง และ ข้าราชการมักคิดถึงฐานเสียงกลุ่มผลประโยชน์ และงบประมาณของหน่วยงานตัวเองเป็นอันดับแรก

ตัวเลขเด็กที่ไม่ได้เรียนจำนวน 5.8 แสนคน ถือว่าเป็นจำนวนมาก ที่เดียว ปัจจุบันเรามีประชากรทั้งหมดกว่า60 ล้านคน แต่เด็กในช่วงวัยประถม ทั่วประเทศ จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์พบว่า

"ปี 2540 มีนักเรียนในระบบการศึกษาจำนวน 13.8 ล้านคน โดยเป็นนักเรียนประถมศึกษาซึ่งเป็นเด็กกลุ่มใหญ่ที่สุด 5.9 ล้านคน ลดลงเหลือ 5.1 ล้านคนในปี 2552 และคาดว่าจะเหลือ 4 ล้านคนในปี 2573 และเหลือ 3.4 ล้านคนในปี 2583 เช่นเดียวกัน เด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นๆ ก็มีสัดส่วนลดลงด้วย"

จะเห็นได้ว่าตัวเลขเด็กวัยประถมมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ สาเหตุมาจากการแต่งงานช้าลง การนิยมมีบุตรเพียง1-2คน แต่จากตัวเลขของสภาพัฒน์ เห็นได้ว่าเด็กวัยประถมมีจำนวนน้อยกว่า 6 ล้านคนลดลงตามลำดับ นั้นหมายความว่า มีเด็กไทยที่ไม่ได้เรียนในวัยประถมสูงกว่า 10 %......?

สิ่งที่ยูเนสโกรายงาน เป็นสิ่งที่ขัดกับความรู้สึกโดยทั่วไปของคนไทยอย่างชัดเจน เพราะตามปรกติหลายรัฐบาลได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับและมีหลักสูตรเรียนฟรีจนถึง12 ปี มานานแล้ว แต่ทำไม่เด็กไทยตามรายงานของยูเนสโกจึงสูงมากมายขนาดนั้น

และว่าไปตามสภาพการพัฒนาของสังคมไทย การเข้าถึงการศึกษาที่สะดวกมากขึ้น อาจจะมีบ้างที่เด็กขาดโอกาสทางการศึกษาจะด้วยปัญหาเศรษฐกิจ สังคมก็ตามแต่...แต่ตัวเลขไม่น่าจะสูงเกิน 10 % เด็กวัยประถมจึงเป็นที่สงสัยว่า ตัวเลขที่ยูเนสโกรายงาน หมายถึงตัวเลขเด็กทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่

นั้นหมายถึงเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ของแรงงานอพยพ ซึ่งมีจำนวนมากมายในปัจจุบัน ทุกวันนี้เราเห็นแรงงานจากเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำมาหากินทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายจำนวนมาก บางจังหวัดบางอำเภอ ประชากรเหล่านี้มีจำนวนมากมาย เสียยิ่งกว่าประชากรในพื้นที่เดิมเสียอีก

ดังนั้นโอกาสที่เด็กที่เกิดในประเทศไทย จึงมีจำนวนมากไปด้วย และแน่นอนว่า นี้อาจจะเป็นปัญหาว่า เด็กเหล่านี้จะมีโอกาสได้รับการศึกษาในระบบหรือไม่...?

สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และ จะต้องเขามาช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ ที่เขาจะได้รับโอกาสในการศึกษาเพื่อพัฒนาต่อไปข้างหน้า รัฐไทยจะทำอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดและให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม และ ยูเนสโก จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุนเข้ามาร่วมช่วยเหลือในประเด็นปัญหาเหล่านี้ อย่างไร..มากกว่าการรายงานตัวเลขที่ไม่ลงรายละเอียดมากนัก และมองเป็นปัญหาเชิงการเมืองในประเทศไทยเพียงอย่างเดียว...???

...โดย เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook