ทำความรู้จัก! “พยาธิสตรองจิลอยด์” อันตรายอย่างไร?
แพทย์หญิงวีรวรรณ ลุวีระ อาจารย์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการปรากฏการณ์ข่าวจริง สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ เกี่ยวกับ โรคพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloidiasis) ซึ่งพยาธิชนิดนี้ เป็นพยาธิตัวกลม จัดอยู่กลุ่มพยาธิที่อาศัยอยู่ในลำไส้ โดยจะไชเข้าไปทางผิวหนัง ซึ่งทุกคนสามารถเป็นได้ แต่ความรุนแรงของโรคมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับบุคคล
อาการของโรค "พยาธิสตรองจิลอยด์" เมื่อพยาธิไชเข้าไปในตัวแล้ว จะไปอยู่ที่ปอด ซึ่งในช่วงนี้อาจทำให้เกิดอาการไอ จากนั้นพยาธิจะลงไปตามทางเดินอาหาร ผ่านทางเสมหะ และเจริญเป็นตัวเต็มวัยที่ลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย , ปวดม้วนท้อง จากนั้นอาจมีพยาธิปะปนออกมากับอุจจาระ
ซึ่งพยาธิชนิดนี้ สามารถเจริญเติบโตในร่างกายเราได้ เช่น หากพยาธิไปเจอกับคู่ในร่างกายของเรา ก็อาจจะมีการผสมพันธุ์ ออกลูกหลานได้ นอกจากนี้ในคนที่ภูมิคุ้มกันร่ายการไม่แข็งแรง ตัวพยาธิจะเพิ่มจำนวนเชื้อในตัวเรา อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจทำให้เสียชีวิตได้
อีกทั้งการตรวจหาพยาธินั้น ค่อนข้างยาก ยิ่งในผู้ที่เชื้อไม่เยอะ หรือไม่ได้แสดงอาการของโรคมากนัก การตรวจอุจจาระแค่ครั้งเดียวอาจไม่เจอตัวพยาธิ ต้องตรวจด้วยวิธีพิเศษ หรือตรวจเพิ่มเป็น 2-3 วัน
อย่างไรก็ตาม การกินยาถ่ายพยาธิ เม็ดเดียว ครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดได้ โดยพยาธิตัวนี้ ยาที่ใช้ค่อนข้างจะหาซื้อยาก ซึ่งทานแล้ว จะต้องทานซ้ำในอีก 2 สัปดาห์ เพื่อตัดวงจรชีวิต แต่ถ้าเป็นยาถ่ายพยาธิที่มีขายทั่วไป อาจจะต้องกินถึง 5 วัน
วิธีป้องกันเบื้องต้น
1. สุขอนามัย เรื่องระบบสาธารณะสุข ต้องขับถ่ายในห้องน้ำ
2. การใส่รองเท้า