ประมงไทย ต้องปฏิรูป เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประมงไทย ต้องปฏิรูป เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประมงไทย ต้องปฏิรูป เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ป็นประเด็นร้อนอีกเรื่องเมื่อเรือประมงขนาดใหญ่พากันกลับฝั่งจอดเทียบท่าไม่ออกหาปลา หรืออาหารทะเลตั่งแต่เมื่อวานนี้ (2 ก.ค.) โดยสมาคมชาวประมงได้มีมติจะไม่ยอมออกหาปลาจนกว่าจะมีการผ่อนผันในเรื่องกฎหมายการทำประมงใหม่ ที่ถึงกำหนดให้เรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปต้องติด VMS ภายในวันที่ 3 กค.

ทั้งนี้หากเรือเหล่านี้กลับมาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งถ้าติดแล้วเรือที่มีทะเบียนเรือ และอาชญาบัตรทำประมง และลูกเรือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายก็กลับออกไปทำการประมงได้ตามปกติ

สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายการทำประมงใหม่ นั้นเกิดขึ้นเพื่อ ต้องการให้การทำประมงของไทยเป็นไปตามมาตรฐาน ไม่มีการกระทำที่เป็นการใช้เครื่องมือประมงผิดประเภทจนทำลายสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำทรัพยากรทางทะเล จนกระทบระบบนิเวศน์ระยะยาว เป็นการออกกฎหมายเพื่อทำให้การใช้ทรัพยากรทางทะเลเป็นไปอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา การทำประมงของไทยต้องยอมรับว่า มีบางส่วนที่มีการทำประมงผิดกฎหมาย ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังมีประเด็นเกี่ยวกับการใช้แรงงานเถื่อน หรือเป็นการใช้แรงงานผิดกฎหมาย เป็นแรงงานทาส ซึ่งผิดหลักมนุษยธรรม

ในประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นคู่ค้ากับสินค้าส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของเรา อย่างสหภาพยุโรป หรือ อียูให้ความสำคัญ และยื่นคำขาดหากไม่มีการปรับปรุงแก้ไข จะไม่ยอมให้ส่งสินค้าจากอาหารทะเล ซึ่งผิดกฎหมายส่งออกไปยังกลุ่มอียูเด็ดขาด

ดังนั้นการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงไม่ตรงกับอาชญาบัตรที่ได้รับ โดยมีการประเมินว่ามีเรือประมงประมาณ 4,000 ลำ เป็นพวกเรือประมงทำลายล้างทรัพยากร

ได้แก่ เรือลาก รุน ล้อมปั่นไฟ และล้อมกลางวัน แต่ถืออาชญาบัตร ทำประมงไดหมึก หรืออวนลอย เพราะรัฐมีกฎหมายควบคุมอาชญาบัตรเครื่องมือ 4 ชนิดแรก ซึ่งไม่สามารถออกเพิ่มให้ได้

เพราะฉะนั้นเรือ 4,000 กว่าลำนี้หากไม่ปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้ตรงกับอาชญาบัตรที่มีก็จะไม่สามารถออกไปทำประมงได้อีก

อย่างไรก็ตาม เรือประมงโดยภาพรวม ยังมีเรือที่ปรับเปลี่ยนและใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกจำนวนมาก ที่สามารถออกไปทำประมงได้เมื่อกฎหมายบังคับใช้แล้ว

แต่การที่สมาคมประมงประกาศหยุดกิจการทั้งหมดเพื่อกดดันรัฐให้มีการผ่อนปรนออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี จึงเป็นการพยายามดื้อแพ่ง มองแต่ประโยชน์ส่วนตัว เอาผู้บริโภคมาเป็นตัวประกัน

สร้างความกดดันทำให้ราคาอาหารทะเลปรับตัวสูงขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการอาหารทะเล และผู้บริโภคไม่มองถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนระยะยาว

วันนี้ จึงอย่างให้สมาคมประมงทบทวนบทบาทตัวเองให้ชัดเจน น่าจะมองถึงการทำอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต การทำประมงโดยใช้เครื่องมือผิดประเภท การทำประมงแบบทำลายล้าง การลากอวน รุนอวนโดยนำปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมาทั้งหมด ไปป้อนอุตสาหกรรมบางประเภทเช่นอาหารสัตว์ ถือว่าการกระทำดังกล่าวทำลายระบบทำลายทรัพยากรทางทะเลอย่างรุนแรง

อนาคตปลาหรือสัตว์น้ำไม่มีโอกาสได้เติบโต หรืออาจจะสูญพันธ์ไปในที่สุด ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ควรจะทบทวนและเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น

อย่าได้ใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวมาทำให้หลักการของการปกป้องทรัพย์กรที่ยั่งยืนต้องสูญหายไปเลย ถึงเวลาที่ที่อุตสาหกรรมประมงจะปฏิรูปตัวเอง เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำธุรกิจที่มีความผิดชอบต่อสังคม เป็นแบบอย่างในยุคของการปฏิรูปเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

....อย่าได้นำผู้บริโภคมาเป็นตัวประกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว อีกเลย......

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook