หนทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเส้นทางจักรยานฯ

หนทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเส้นทางจักรยานฯ

หนทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยเส้นทางจักรยานฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มีข่าวที่น่าสนใจไม่น้อย เกี่ยวกับการลงทุนภาครัฐ โดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า...

กรมทางหลวงชนบทร่วมกับ กรมทางหลวง(ทล.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมจัดสร้างทางจักรยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 เริ่มจากศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานี - เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระยะทางรวม 184.8 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างในปี 2559 แล้วเสร็จเปิดให้บริการปลายปี 2560 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบเส้นทาง

ทั้งนี้ เส้นทางจักรยานที่ก่อสร้างในโครงการนี้ เพื่อสนับสนุนการนำจักรยานมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

การลงทุนภาครัฐเป็นสิ่งจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงิน เมื่อมีการก่อสร้าง ก็มีการจ้างงาน เมื่อมีงานก็มีรายได้ มีรายได้ก็สามารถนำไปจับจ่ายใช้สอย ร้านค้าก็มีรายได้ ผู้ผลิตก็สามารถผลิตสินค้าออกมาขายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมก็ขยับขยายได้มากขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจของการลงทุนในโครงการทางจักรยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 นอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจที่กล่าวไปแล้ว ยังมีผลต่อเนื่องในแง่สังคมอีกด้วย อย่างที่ทราบกันว่า ปัจจุบันประชาชนนิยมอกกำลังกายโดยใช้จักรยานมากขึ้น และเริ่มมีการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้นด้วย

การสร้างถนนเพื่อจักรยานจึงเป็นสิ่งพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ คนปั่นจักรยานมีความสะดวก และสามารถใช้จักรยานเพื่อการออกกำลังกาย เพื่อเป็นยานพาหนะประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น

หมายถึงโอกาสของการสร้างสุขภาพของคนกลุ่มหนึ่ง ทำให้ร่างการแข็งแรงห่างจากโรคภัย ทำให้ประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลไปได้ส่วนหนึ่ง

ในขณะเดียวกันในยุคที่พลังงานเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีคนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น ย่อมหายถึงการประหยัดพลังงาน ช่วยลดมลพิษจากการเผาไหม้ลงได้อีกด้วย

แน่นอน เป้าหมายในเชิงการท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายของโครงการนี้ ย่อมสัมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น เชื่อว่าหาก การสร้างถนนจักรยานฯเส้นนี้ จะทำให้มีการปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในเส้นทางดังกล่าวจำนวนมากแน่นอนตามจำนวนความนิยมของคนไทยที่หันมาปั่นจักรยานมากขึ้น

และการท่องเที่ยวเหล่านั้นย่อมมีการจับจ่ายใช้สอยในระหว่างการเดินทาง ตามเป้าหมายของการเดินทาง ทำให้มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ที่สำคัญการสร้างถนนครั้งนี้จะเป็นการก่อสร้างโดยใช้ผิวจราจรพาราแอสฟัลท์ นั้นคือ ใช้ยางพาราผสมสัดส่วน 5% ในชั้นผิวแอสฟัลต์คอนกรีต (พาราแอสฟัสต์) หมายถึงจะมีการน้ำยางพารามาใช้เพื่อสร้างถนนจำนวนมาก ทำให้โอกาสที่ราคายางพาราอาจขยับขึ้นเพราะความต้องการมีจำนวนมาก มีการใช้ยางพาราจากสต็อกที่มีอยู่มากขึ้น

ดังนั้นเมื่อมองถึงผลดีในหลายด้านตามที่ยกมา และมองความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจการลงทุนจากภาครัฐ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเร่งโครงการให้เร็วขึ้น (แต่ต้องมีความรอบครอบไม่เกิดการรั่วไหลในการทำโครงการ) และขยายเส้นทางที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นในอีกหลายเส้นทาง

เป็นไปได้หรือไม่ว่า เศรษฐกิจไทยอาจขยับขับเคลื่อนได้จากเส้นทางจักรยานเหล่านี้ก็ได้.....?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook