25 ปี สืบ นาคะเสถียร ยังคงสืบทอดเพื่อสานต่อเจตนาฯ

25 ปี สืบ นาคะเสถียร ยังคงสืบทอดเพื่อสานต่อเจตนาฯ

25 ปี สืบ นาคะเสถียร ยังคงสืบทอดเพื่อสานต่อเจตนาฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันครบรอบจากจากไปของ สืบ นาคะเสถียร เวียนมาอีกครั้งเป็นปีที่ 25 หลังจากที่เขาตัดสินใจจบชีวิตัวเอง ในราวป่าเมืองอุทัยธานี ที่อุทยานแห่งชาติป่าห้วยขาแข้ง ในเช้าวันที่ 1 กันยายน เมื่อปี 2533 เพื่อใช้ชีวิตตัวเอง เป็นเครื่องมือประกาศก้องให้คนไทย และ โลกตระหนักในเรื่องราวการอนุรักษ์

การจากไปของสืบ ในครั้งนั้นเป็นการจากไปแต่ไม่มีวันจางหาย ในทุกปีนับตั้งแต่ปีแรกของการจากไปจะมีการรำลึกถึง พูดถึง เรื่องราวของเขา เจตนารมณ์ของการอนุรักษ์ของเขาไม่เคยขาดขาย ครั้งนี้ก็เช่นกัน ยังคงมีการรำลึกและระลึกถึง สืบ และเจตนารมณ์ของสืบเช่นเดิม

สิ่งที่เขาได้เสียสละชีวิต เสียสละครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งสามารถทำได้ ผ่านวันเวลามา 25 ปี ซึ่งระยะเวลา 25ปี หากเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ก็เวียนมาจนครบเบญจเพส เป็นวันเวลา ที่คนคนหนึ่งสามารถผ่านการเรียนรู้ของชีวิตสามารถที่จะตกผลึกในแนวทางของตัวเองได้พอสมควร

ถึงวันนี้เจตนารมณ์ของสืบในการอนุรักษ์ผืนป่า สัตว์ป่า ความหลากหลายของชีวภาพ บรรลุไปมากน้อยเพียงใด ...? แน่นอนมันเป็นเรื่องยากที่จะบอกออกมาได้อย่างชัดเจน แต่ ก็มีการรายงานข้อมูลในเชิงรูปธรรมที่น่าสนใจล่าสุดคือ

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ในฐานะ อดีตคนสนิทของ สืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ให้ข้อมูลว่า

"แนวคิดที่ คุณสืบพยายามส่งสัญญาณให้ทุกคนทราบ และช่วยกันปฏิบัติเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนมาจนถึงวันนี้ เป็นที่รับรู้ของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน ที่แสดงออก และมีความเข้าใจ รวมทั้งปฏิบัติตัว ที่ทำให้เห็นว่า เอาใจใส่ดูแลรักษาป่ามากขึ้น และแม้บางคนจะเกิดไม่ทันช่วงการเสียชีวิตของคุณสืบ แต่เมื่อพูดถึงชีวประวัติของวีรบุรุษป่าไม้คนนี้มีเยาวชนมากกว่าครึ่งที่รู้จัก"

และจากการสำรวจพื้นที่ป่าเพื่อบันทึกเป็นข้อมูลล่าสุด ปี 2556 ถึง เดือนตุลาคม 2557 พบว่า
จังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุด เมื่อเทียบกับพื้นที่จังหวัดเป็น 5 อันดับแรก ได้แก่
1. แม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ป่าคิดเป็น ร้อยละ 87.12 อันดับที่
2.จ. ตาก มีพื้นที่ป่าคิดเป็นร้อยละ 72.05 อันดับที่
3. จ.ลำปาง มีพื้นที่ป่าคิดเป็น ร้อยละ 70.84 อันดับที่
4. จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ป่าคิดเป็น ร้อยละ 70.13 และอันดับที่
5. จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ป่าคิดเป็น ร้อยละ 62.50

ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นร้อยละ 298.48
2. สมุทรปราการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.02
3. สมุทรสาคร เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.21
4. สมุทรสงคราม เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.49 และ
5. พิจิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.43

ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าลดลงมากที่สุด 5 อันดับ คือ
1.ระยอง ลดลงร้อยละ 10.23
2. สงขลา ลดลงร้อยละ 7.52
3. ศรีษะเกษ ลดลงร้อยละ 5.84
4. สุรินทร์ ลดลงร้อยละ 4.61และ
5. บึงกาฬ ลดลงร้อยละ 4.01

โดยภาพรวม การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าที่มีตัวเลขเปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างสูงนั้น เปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าที่มีอยู่เดิม และพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดนั้นๆด้วย เมื่อคิดออกมาเป็นจำนวนไร่แล้ว อาจจะไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าดีที่ปริมาณเพิ่มขึ้น ไม่ได้ลดลง

จากข้อมูล การรับรู้การเสียสละของสืบ สะท้อนชัดเจนว่า เขาไม่มีวันจากหาย ยังคงมีคนสนใจและเรียนรู้ เพื่อสืบทอดเจตนาของเขามาตลอด แต่ ในเชิงตัวเลขพื้นป่าโดยรวมมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในบางพื้นที่ผืนป่าลดลง สิ่งเหล่านี้ยังต้องเดินหน้าเพื่อแก้ไขเพื่อให้เจตนาของ สืบ บรรลุเป้าประสงค์ต่อไป

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้หน่วยงานรัฐ ต้องตระหนักและมองเรื่องการอนุรักษ์และการพัฒนาให้ชัดเจน มองความคุ้มค่าของประโยชน์ระยะยาวของผืนป่าที่จะเป็นแหล่งต้นน้ำที่ยั่งยืน เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไร

แนวคิดตัดป่าทำลายป่า ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด เป็นแหล่งอุ้มน้ำ เพื่อเก็บน้ำ ยังคงมีอยู่ในแนวคิดการพัฒนาของข้าราชการบางส่วน ยังคงมีอยู่ ความขัดแย้งที่สะท้อนออกมาในการแก้ไขปัญหา ที่รอวันปะทุ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ป่าแม่วงศ์ ป่าแก่งเสือเต้น ฯลฯ

ถึงวันนี้ ครบ 25 ปี ของการจากไปของสืบ นาคะเสถียร เรื่องราวของการอนุรักษ์ ยังคงต้องช่วยกันสืบทอดเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเขาต่อไป......

เปลวไฟน้อย


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook