ใครแจ็กพ็อต! พ.ร.ฎ. เวนคืน-กำหนดเขตที่ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
(5 ต.ค.58) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาจำนวน 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องการดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยฉบับแรกคือ พระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวงเขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอําเภอบางพลี อําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558
โดยเหตุผลของการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ระบุว่า เนื่องจากมีความจําเป็นต้องดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสารและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สําโรง ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอําเภอบางพล ีอําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่ออํานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนจึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ส่วนพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกันคือ พระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอําเภอบางพลี อําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558
สำหรับเหตุผลของการออกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวนี้ ระบุว่า เนื่องจากมีความจําเป็นต้องดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สําโรง ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอําเภอบางพลี อําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการสํารวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะและการเข้าใช้ประโยชน์บนเหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ํา เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้