MH370 เที่ยวบินลึกลับ 2 ปีที่สาบสูญกับปริศนาระดับโลก

MH370 เที่ยวบินลึกลับ 2 ปีที่สาบสูญกับปริศนาระดับโลก

MH370 เที่ยวบินลึกลับ 2 ปีที่สาบสูญกับปริศนาระดับโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 8 มีนาคม 2559 เป็นวันครบรอบ 2 ปีเต็มของการหายสาบสูญไปของเที่ยวบิน MH370 สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส ที่ออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อมุ่งหน้าสู่สนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน พร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรือ 239 ชีวิต

หลังเครื่องบินทยานขึ้นสู่ฟ้าได้เพียง 45 นาที สัญญาณการติดต่อของเที่ยวบิน MH370 ก็ได้หายไป ระหว่างกำลังบินออกไปตามเส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนต่างช่วยกันปฏิบัติการค้นหาร่องรอยของเที่ยวบินนี้ ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้ข้อมูลที่ไขปริศนาครั้งนี้ได้อย่างกระจ่างแจ้ง

การสูญหายไปของเที่ยวบิน MH370 ตามมาด้วยทฤษฎีต่างๆ มากมาย แม้ว่าประเด็นจี้ปล้นสลัดอากาศ หรือการก่อการร้าย ดูเหมือนจะเป็นข้อสันนิษฐานหลักๆ ที่ชุดสืบสวนให้น้ำหนัก แต่ก็ยังคงไม่มีข้อมูลยืนยันได้อย่างชัดเจน ท่ามกลางปฏิบัติการค้นหาซากเครื่องบิน ที่เชื่อว่า MH370 ได้เปลี่ยนเส้นทางจากเดิมและบินออกไปสู่น่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย

ขณะที่ในระยะเวลาที่ผ่านมา มักมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการค้นพบซากเครื่องบินมาเป็นระยะๆ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ชิ้นส่วนปีกเครื่องบินถูกพบที่เกาะเรอูนียง ทางมหาสมุทรอินเดียตะวันตก ซึ่งทางการมาเลเซียได้ทำการตรวจสอบและยืนยันว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นของเที่ยวบิน MH370

หรือล่าสุดเมื่อไปกี่วันก่อนหน้านี้ มีการค้นพบชิ้นส่วนคล้ายซากเครื่องบินที่ประเทศโมซัมบิก ทวีปแอฟริกา ทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีข้อความระบุว่า "No Step" ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนแพนหางของเครื่องบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจพิสูจน์ว่าจะเป็นชิ้นส่วนของ MH370 อีกชิ้นหรือไม่ และจะช่วยตอกย้ำว่าแนวทางการค้นหาเที่ยวบินนี้ในมหาสมุทรอินเดีย ถือว่ามาได้ถูกทาง

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้จัดทำรายงานพิเศษ ครบรอบ 2 ปีของการสูญหายไปของ MH370 พร้อมกับขยายข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับปมสาเหตุปริศนาครั้งนี้ว่า "หรือจะเป็นนักบินที่ลงมือ?" หยิบยกหลักฐานและข้อมูลต่างๆ ที่เป็นการสนับสนุนจากแนวการสืบสวนสอบสวน โดยเฉพาะสัญญาณแปลกๆ ระหว่างนักบินกับการสื่อสารภาคพื้นดิน เช่น การปฏิเสธและไม่ตอบสนองกลับเจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน หรือการปิดตำแหน่งสัญญาณเรดาร์ของเครื่องบิน ที่อาจจะเป็นการกระทำของนักบินก็เป็นไปได้...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook