5 ข้อสังเกต ปมเครื่องดับเพลิง SCB Park จากอดีตนายกสถาปนิกฯ

5 ข้อสังเกต ปมเครื่องดับเพลิง SCB Park จากอดีตนายกสถาปนิกฯ

5 ข้อสังเกต ปมเครื่องดับเพลิง SCB Park จากอดีตนายกสถาปนิกฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ตั้ง 5 ข้อสังเกตเหตุเครื่องดับเพลิง "SCB Park" ทำงานอัตโนมัติ

(14 มี.ค.) หลังจากเกิดกรณีเกี่ยวกับเครื่องดับเพลิงทำงานอัตโนมัติ ภายในอาคาร SCB Park ย่านรัชโยธิน เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมครั้งนี้

1. มีการก่อสร้างต่อเติมปรับปรุง "ห้องมั่นคง" ที่ชั้น B2 ของอาคาร และในการก่อสร้างนั้นมีประกายไฟเกิดขึ้น หรือมีฝุ่นละอองเกิดเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ระบบดับเพลิงอัตโนมัติทำงานพ่นควันออกมา

2. ระบบดับเพลิงอัตโนมัตินั้นเป็นก๊าซ (สาร) ไพโรเจน (Pyrogen) ทำมีคุณภาพในการกำจัดออกซิเจน ทำให้บริเวณนั้น (ซึ่งมีคนงานจำนวนมาก) ขาด Oxygen ที่จะใช้หายใจ

3 เพราะการก่อสร้างอยู่ที่ชั้นใต้ดิน B2 ทำให้การระบายอากาศทำได้ยาก ไม่มีหน้าต่างเปิดสู่ภายนอก กลุ่มควันจึงลอยอยู่ในห้อง ไม่ออกไปไหน และออกซิเจนจากอากาศภายนอก ไม่สามารถเข้ามาในบริเวณนั้นได้ คนที่อยู่ภายในจึงยิ่งขาดอากาศหายใจ

4. การเข้าไปช่วยเหลือยากมาก เพราะสถานที่ใช้ระบบสแกนนิ้วมือในการเข้าไป (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) ทำให้ผู้เข้าไปช่วยเหลือเข้าไปช้า หรือเข้าไปไม่ได้ จนต้องมีการทุบรื้อประตูเข้าไปช่วย

5. เมื่ออากาศหายใจไม่มี คนเข้าไปช่วยไม่ได้ อากาศไม่ถ่ายเท มีสาร Pyrogen ทำลายออกซิเจนอยู่ คนไม่มีอากาศหายใจ จึงเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม นายยอดเยี่ยม ยังกล่าวสรุปว่า โศกนาฏกรรมกรณีนี้ น่าจะเป็นกรณีแรกที่เกิดขึ้นในเมืองไทย จึงยังไม่มีการระมัดระวังกันเท่าที่ควรและขอให้กรณีนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย

ขณะที่ทางด้าน นายวรวรงค์ รักเรืองเดช รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อธิบายว่า ก๊าซไพโรเจนไม่มีคุณสมบัติติดไฟ แต่เป็นสารดับเพลิงทางการค้าแบบหนึ่งที่พัฒนามาจากเชื้อเพลิงที่ใช้ในจรวดถูกบรรจุอยู่ในกระบอกที่ไร้ความดันในรูปของวัตถุที่เป็นของแข็ง

เมื่อถูกกระตุ้นให้ทำงานโดยสวิตช์ไฟฟ้า หรือความร้อนที่กระบอกมากกว่า 500 องศาเซลเซียส จะกลายเป็นละอองของเหลวพุ่งออกมา ในรูปของสารอนุมูลอิสระของธาตุโพแทสเซียม และแก๊สเฉื่อยจำพวกไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ซึ่งไม่ติดไฟ แต่จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อน และจับตัวกับอนุมูลอิสระของไฮโดรเจน ออกซิเจน และไฮดรอกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ ทำให้กระบวนการติดไฟขาดความต่อเนื่อง จนสามารถดับไฟได้ในที่สุด

ทั้งนี้ สารดับเพลิงชนิดดังกล่าว ไม่ใช่สารไวไฟ มีประสิทธิภาพสูงในการดับเพลิง จึงนำมาใช้แทนระบบสปริงเกอร์ เพื่อป้องกันพื้นที่ที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าชอร์ตได้ แต่ถึงแม้ว่าสารชนิดนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่เกิดอันตรายเมื่อสัมผัสกับร่างกายมนุษย์ แต่ก็ควรอยู่ในพื้นที่ที่สารปะปนเกิน 5 นาที เพราะละอองไม่มีออกซิเจนต่อกายหายใจ ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย หากไม่ได้หายใจเพียงแค่ 1 นาที และทวีความรุนแรงถึงขั้นเสียหายได้หากไม่ได้หายใจ 3 นาที จากนั้นภายใน 10 นาทีสมองจะเสียหายขั้นรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 15 นาที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook