กกต.สรุป! หลักเกณฑ์-ข้อห้าม ช่วงประชามติ

กกต.สรุป! หลักเกณฑ์-ข้อห้าม ช่วงประชามติ

กกต.สรุป! หลักเกณฑ์-ข้อห้าม ช่วงประชามติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กกต.ออกประกาศ หลักเกณฑ์พฤติกรรมที่ทำได้ 6 ข้อ และทำไม่ได้ 8 ข้อ ในช่วงการออกเสียงประชามติ โดยห้ามจูงใจ ปลุกระดม และบิดเบือน คาดลงราชกิจจานุเบกษาในสัปดาห์นี้ มีผลบังคับใช้ทันที

วันที่ 29 เม.ย. 59 นายธนิศ ศรีประเทศ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แถลงมติที่ประชุม ว่า กกต.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ว่าด้วย การแสดงความเห็นในการออกเสียงประชามติ เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติการแสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ และไม่ให้ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ตามมาตรา 61 ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท และอาจถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งได้

โดยหลักเกณฑ์ที่ทำได้ 6 ข้อ มีดังนี้

1. การแสดงความเห็นต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง หยาบคาย ไม่ก้าวร้าว ข่มขู่ และไม่ผิดกฎหมายอื่น

2. การแสดงความเห็นโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ

3. การแสดงความเห็นด้วยข้อมูลที่ชัดเจน ไม่กำกวม อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง

4. ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลงานวิจัยรวมถึงที่มาก่อนนำมาประกอบความเห็นหรืออ้างอิงงานวิจัยตามหลักวิชาการ

5. การสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมเหตุผล

6. การโพสต์ข้อมูลพร้อมเหตุผลทางเว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการแชร์ข้อความต้องไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม

และ 8 ข้อทำไม่ได้

1. การสัมภาษณ์ผ่านสื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่

2. การโพสต์หรือแชร์ข้อมูล อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดมหรือข่มขู่ในเว็บไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3. การทำหรือส่งสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอันมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่

4. การจัดเวทีสัมมนา อภิปราย โดยกลุ่มองค์กรต่างๆที่ไม่มีหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรสื่อมวลชน ตามกฎหมายเข้าร่วมและมีเจตนาเพื่อปลุกระดมทางการเมือง

5. การชักชวนให้ใส่เสื้อ หรือติดป้าย เข็มกลัด ธง ริบบิ้น หรือเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์ความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการขาย การแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าว ในลักษณะรณรงค์ทั่วไปเพื่อนำไปสู่การปลุกระดมทางการเมือง

6. การใช้เอกสารใบปลิวหรือแผ่นพับ ที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะก้าวร้าวรุนแรงหยาบคายหรือปลุกระดมทางการเมือง

7. การรายงานข่าวหรือการจัดรายการของสื่อมวลชนที่นำไปสู่การปลุกระดมหรือสร้างความวุ่นวายในสังคม

8. การรณรงค์เพื่อให้เกิดการคล้อยตามของคนในสังคม เพื่อให้ออกเสียงอย่างไรอย่างหนึ่ง มีลักษณะการปลุกระดมหรือขัดขวางการออกเสียง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook