รองปลัดฯ ยุติธรรม ชี้ ข่มขืนให้ประหาร อาจยิ่งส่งเสริมฆ่าปิดปาก

รองปลัดฯ ยุติธรรม ชี้ ข่มขืนให้ประหาร อาจยิ่งส่งเสริมฆ่าปิดปาก

รองปลัดฯ ยุติธรรม ชี้ ข่มขืนให้ประหาร อาจยิ่งส่งเสริมฆ่าปิดปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(4 ก.ค.) นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟซบุ๊ก ธวัชชัย ไทยเขียว แสดงความคิดเห็นเชิงคำถามว่า ข่มขืนให้ประหาร เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้การข่มขืนทุกรายต้องฆ่าปิดปากให้หมดหรือไม่ เพราะต้องการปกปิดการกระทำความผิด แนะแต่ละคดีควรพิจารณาไปตามความหนักเบา

"ข่มขืน=ประหาร เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ "การข่มขืนทุกรายต้องฆ่าปิดปากให้หมดหรือไม่ ? เพราะต้องการปกปิดการกระทำความผิด"

การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น โดยใช้วิธีขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น เขาเรียกว่า "ข้มขืนกระทำชำเรา"

ถ้ากระทำดังกล่าว "มีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง" แม้แต่เพศเดียวกัน ต้องระวังเจอ "คุก" ตั้งแต่ ๑๕ - ๒๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๓-๔ หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต (ม.๒๗๖)
แต่ถ้าข่มขืนกระทำชำเราเป็นเหตุให้ผู้ถูกข่มขืน ได้รับอันตราย "สาหัส" ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๕-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๓-๔ หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต และถ้าผู้ถูกข่มขืนถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ "ประหารชีวิต" หรือ "จำคุกตลอดชีวิต" (มาตรา ๒๗๗ ทวิ)

และถ้าการกระทำความผิดมีอาวุธ หรือวัตถุระเบิด หรือ โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ทำให้ผู้ถูกข่มขืนได้รับอันตราย "สาหัส" ต้องรับโทษ "ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต" ถ้าถึงแก่ความตาย ต้องเจอโทษ "ประหารชีวิต" สถานเดียว (มาตรา ๒๗๗ ตรี)

สังคมเรียกร้อง "ข่มขืนฆ่า = ประหาร" ตามกฎหมายก็เท่ากับประหารอยู่แล้ว

แต่ถ้า....ข่มขืน=ประหาร เท่ากับส่งเสริมให้ "มีการข่มขืนทุกราย เพราะต้องฆ่าปิดปากให้หมดเพื่อปกปิดการกระทำความผิดของตน"

มีคดีมากมายที่เด็กรักกัน พ่อแม่ไม่ยอม หรือเรียกเงินสินสอดทองหมั้นสูงเกินไป ตกลงไม่ได้ก็ไปแจ้งความว่าลูกถูกข่มขืน และอื่น ๆ จะทำอย่างไร

เป็นไปได้หรือไม่ คดีข่มขืนกระทำชำเราทุกคดี ให้ศาลท่านใช้ดุลพินิจมีคำสั่งให้สืบเสาะและพินิจทุกคดี โดยไม่จำกัดเฉพาะคดีที่มีอัตราโทษไม่เกิน ๕ ปี เพราะ พรบ.คุมประพฤติก็ได้มีการแก้ให้มีอำนาจสืบเสาะในคดีทุกประเภทได้อยู่แล้ว
และคดีข่มขืนกระทำชำเรา จำเป็นต้องเข้าโปรแกรมบำบัดเฉพาะ และควรได้รับการติดตามช่วยเหลือหลังพ้นโทษตามคำพิพากษาทุกรายจะดีกว่าหรือไม่"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook