"แชร์ผิดชีวิตเปลี่ยน" เช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์

"แชร์ผิดชีวิตเปลี่ยน" เช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์

"แชร์ผิดชีวิตเปลี่ยน" เช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อันห้ามไฟบ่ให้มีควันได้ฉันใด ย่อมห้ามคำติฉินนินทาได้ฉันนั้น สุภาษิตคำพังเพยไทยที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยกาลนานที่ใช้เปรียบเปรยการพูดคุย ติฉินนินทาของคนในสังคมยุคโบราณ ซึ่งไม่แตกต่างกับสมัยปัจจุบันที่ยังมีการติฉินนินทาเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ยุคปัจจุบันเป็นยุคออนไลน์สามารถแชทและแชร์ข่าวสารหรือคำนินทาได้อย่างรวดเร็วไวปานจรวด ผ่านการโพตส์ทางโซเชี่ยลมีเดียโดยมีอินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน และด้วยความรวดเร็วนี่เองทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายและส่งต่อกันไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

กลายเป็นดาบสองคนที่สร้างผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้โพตส์ ผู้แชร์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นแล้วก่อนจะโพตส์จะแชร์อะไรต้องคิดให้ดีนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะติดคุกได้โดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญหากจะเม้ามอยหรือจะนินทาใครก็เอาแค่หอมปากหอมคออยู่ในวงสนทนาก็พอไม่งั้นผลกระทบที่ตามมาอาจทำให้หมดอนาคตทางด้านการงานได้

อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้น ณ ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งใน อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร เมื่อข้าราชการนายหนึ่งได้แอบถ่ายภาพพนักงานปั้มน้ำมันดังกล่าว แล้วนำภาพและข้อความมาโพสต์ในโลกออนไลน์เชิงลักษณะดูหมิ่นจุดด้อยของน้องเค้า ถ้าพูดกันภาษาชาวบ้านก็คงอยากจะเม้ามอยหรือนินทาแบบขำๆ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นตรงกันข้าม เมื่อภาพและข้อความดังกล่าวถูกแชร์ไปบนโลกออนไลน์อย่างรวดเร็วและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากชาวเน็ต ซึ่งผลกระทบที่ตามมาคือข้าราชการท่านนั้นเกือบจะหมดอนาคตกันเลยทีเดียวและที่สำคัญลักษณะเช่นนี้เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมฯ ฐานแชร์ข้อความอันเป็นเท็จแก่สาธารณชน

แต่คดีนี้โชคดีที่ยังไม่รุนแรงเมื่อเจ้าตัวออกมายอมรับผิดและขอโทษน้องพนักงานปั้มที่เป็นเจ้าทุกข์และน้องได้ถอนแจ้งความพร้อมจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง บทเรียนนี้คงเป็นอุทาหรณ์สอนใจอีกนาน ว่าก่อนจะโพสต์อะไร ควรเช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์

อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทราบว่าจะเข้าข่าย ควรเช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์ หรือเปล่า นั่นคือเหตุการณ์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่มีชายคนหนึ่งกำลังช่วยตัวเองในที่สาธารณะ ตรงวินรถตู้แห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี ซึ่งกระทาชายนายนี้พยามยามเรียกร้องความสนใจจากหญิงสาวโดยพยายามปฏิบัติภารกิจจู๋จี๋กับน้องชายให้หญิงสาวสนใจ

แต่ด้วยความสตรองบวกกับสติหญิงสาวกลับทำตรงกันข้าม โดยการไม่สนใจแถมอัดคลิปไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับแจ้งความไว้เรียบร้อย และยังนำคลิปดังกล่าวไปโพสต์ลงบนโลกออนไลน์เพื่อที่จะต้องการเตือนภัยหญิงสาวทั้งหลายไม่ให้ตกเป็นเหยื่อซึ่งคลิปดังกล่าวเห็นหน้าหนุ่มหื่นอย่างชัดเจน

แต่เรื่องราวกลับโอล่ะพ่อเมื่อมีทนายความออกมาเตือนว่าการโพสต์ภาพที่เป็นในลักษณะลามกอนาจารเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ข้อหามีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

ซึ่งมีโทษจำคุก5 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จากผู้เสียหายอาจกลายเป็นผู้ต้องหาได้ แล้วแบบนี้เหยื่อทั้งหลายจะสามารถปกป้องตัวเองได้อย่างไร ในเมื่อไม่สามารถเตือนภัยคนโรคจิตให้กับเพื่อนผู้หญิงได้ ช่างแสนตลกจริงๆ กฎหมายบ้านเรา

อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ถือว่าต้องจำไว้ให้ดีและคิดให้มากๆ ก่อนที่จะแชร์ หรือ โพสต์อะไรโดยที่ไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน เหตุการณ์มนุษย์กล้องในรองเท้าที่ BTS คงยังจำกันได้เมื่อผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อของความเข้าใจผิด ต้องโดนสังคมออนไลน์รุมประณามทั้งที่ไม่เป็นความจริง หลังจากมีการแชร์ภาพเตือนภัยหนุ่มซ่อนกล้องไว้ในรองเท้าเพื่อแอบถ่ายใต้กระโปรงสาวๆ บนรถไฟฟ้า BTS ซึ่งความเป็นจริงแล้วรองเท้าของผู้เสียหายขาดเห็นเล็บเท้าทำให้ดูคล้ายเลนส์กล้องนั่นเอง

จากเหตุการณ์นี้ผู้โพตส์ถึงแม้ว่าจะหวังดีต้องการเฝ้าเตือนภัยให้กับสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่ควรพึงกระทำคือควรตรวจสอบให้ดีและหาข้อเท็จจริงเสียก่อนก่อนที่จะโพสต์ภาพออกไปบนโลกออนไลน์ และผู้แชร์ภาพต่อ หรือ ผู้ที่เค้ามาคอมเม้นก็ควรที่ตรวจสอบให้ดีก่อนแชร์ ไม่เช่นนั้นผลกระทบที่ตามมาคือความเสียหายทางด้านจิตใจของเหยื่อผู้ซึ่งเป็นถูกกระทำถูกประณามโดยที่เค้าไม่รู้ตัวว่าทำผิดอะไร

และที่สำคัญถึงแม้ว่าสังคมจะลืมเลือนเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปแล้วก็ตาม แต่ผาดแผลและคำประณามยังตามหลอกหลอนเหยื่อไม่จบสิ้นไม่สิ้น คำด่าทอ และสายตาที่ถูกเหยียบหยามจากสังคมยังไม่ลบเลือนไปจากใจและที่สำคัญเหยื่อที่ถูกใส่ร้ายต้องชีวิตพังและกลายเป็นคนจิตตกไม่กล้าแม้จะออกจากบ้านกันเลยทีเดียว

ซึ่งเหตุการณ์นี้คงเป็นอุทาหรณ์ได้ดีสำหรับคนชอบโพสต์ชอบแชร์ข้อมูลที่ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ดีเสียก่อน 1 โพสต์ที่คุณไม่ได้ตั้งใจ อาจทำร้าย 1 ชีวิตที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ควรเช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรบ้างในชีวิตประจำวันที่อาจทำให้คุณติดคุกได้ เช่น โพตส์ทวงหนี้ลูกหนี้, เมียหลวงโพสต์ประจานเมียน้อย, เอารูปคนอื่นไปแชร์ให้ได้รับความเสียหาย, แชร์ภาพลามกอนาจาร, โพสต์ด่าหรือจงใจใส่ร้ายคนอื่น, นำภาพที่มีลิขสิทธิ์ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต, ส่งอีเมลล์ลูกโซ่ให้คนอื่นรำคาญ, แชร์ข้อมูลโดยไม่คัดกรอง และเป็นข้อความที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, โพสต์หมิ่นเบื้องสูง,

เหตุการณ์เหล่านี้คงไม่เกิดขึ้นหากเรามีจิตสำนึกที่ดี มีการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่อิจฉาริษยาหรือชอบดูถูกดูแคลนผู้อื่น พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เท่านี้พื้นที่ความสุขในชีวิตก็เพิ่มขึ้นมากมายและอย่าลืมแบ่งปันรอยยิ้มและแชร์ความรู้สึกดีๆให้กับคนรอบกายด้วยล่ะ ที่สำคัญอย่าลืม "เช็คก่อนแชร์ แคร์ก่อนโพสต์"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook