หมอเปรม-อบต.เหยียดฯ กับการแก้ปัญหาในยุคดิจิตอล

หมอเปรม-อบต.เหยียดฯ กับการแก้ปัญหาในยุคดิจิตอล

หมอเปรม-อบต.เหยียดฯ กับการแก้ปัญหาในยุคดิจิตอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ เป็นผลสะท้อนของคนรุ่นอนาล็อก กับช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอล ที่น่าศึกษา นั้นก็คือ กรณีหมอเปรม นักการเมืองชื่อดัง ที่ผันตัวเองจากนักการเมืองระดับชาติ หรือ อดีต ส.ส. มาสู่ นักการเมืองท้องถิ่น คือ มาเป็นนายกเทศฯ

อย่างที่ทราบกัน กรณีของ หมอเปรม ปัญหาซึ่งกำลังยืดเยื้อและลุกลามใหญ่โต มากขึ้นเรื่อยๆ จาก ภาพปริศนา ม.5 มาจนถึง จับนักข่าวแก้ผ้า นำไปสู่การฟ้องร้องคดี ทั้งทางอาญา และทางปกครองอยู่ในทุกวันนี้ ซึ่งตอนจบจะเป็นอย่างไร รอติดตามกันต่อไป

ขณะอีกประเด็นก็คือ กรณี ข้าราชท้องถิ่น อบต.ในจังหวัดยโสธร ที่บันทึกภาพของเด็กบริการปั๊มน้ำมันแล้วนำไปโพสต์พร้อมลงข้อความในเชิงเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ลงในเฟซบุ๊ก จนเป็นเหตุ ให้ชาวโซเชียล ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของข้าราชการ อบต.คนดังกล่าวกันขนานใหญ่ จนโด่งดังจนกระทั้งสื่อกระแสหลัก ลงไปติดตามนำเสนอข่าวในเรื่องนี้ต่อมา

ทั้งสองกรณีมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ วิธีคิดและการแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดปัญหาขึ้นมาของทั้งสองคน ซึ่งสะท้อนตัวตนของยุคสมัยที่แปลเปลี่ยนน่าสนใจยิ่ง

กรณีหมอเปรม เมื่อเกิดปัญหา ขึ้นมา วิธีการแก้ไขปัญหา ก็คือ เรียกต้นเรื่องที่เป็นสื่อกระแสหลัก ซึ่งเป็นสื่อเก่าแก่คือหนังสือพิมพ์ และ สื่อโทรทัศน์ มา และใช้วิธีการในลักษณะของการใช้อำนาจเพื่อต้องการหยุดยั้งการขยายความของประเด็นปัญหา ใช้วิธีการที่เรียกว่าปิดปากสื่อ เบี่ยงเบนประเด็น อาจด้วยวิธีคิดของหมอเปรม ซึ่งคุ้นเคยกับสื่อกระแสหลัก เพราะเติบโตขึ้นมาในยุคสื่อกระแสหลักครองอิทธิพลทางสังคม

หมอเปรมดูเหมือนไม่แคร์ หรือ ไม่ให้น้ำหนักกับสื่อใหม่ สื่อดิจิตอล สื่อโซเชียลมากนัก ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงทางสังคม คือ สื่อเก่าแก่ได้มีการปรับตัวผันตัวเองเชื่อมโยงขยายตัวไปอยู่บนโลกดิจิตอล และ เชื่อมกับสื่อโซเชียลกันแทบทุกสำนักแล้ว

ข่าวเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทุกเผยแพร่ไปบนโลกโซเชียลอย่างรวดเร็ว บางกรณีทันเหตุการณ์แบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยีการถ่ายทอดสดที่ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ต่างกับสื่อเก่าอย่างหนังสือพิมพ์ที่ต้องรอให้วางแผงในอีกวันถัดไปซึ่งช้ามาก นอกจากนี้ ความกว้างขวางของสื่อโซเชียลยังกว้างขวางและเข้าได้ถึงผู้รับสารอย่างง่ายได้

ดังนั้นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่ขอนแก่น และ ถูกเผยแพร่ขึ้นบนสื่อดิจิตอล สื่อโซเชียล การแพร่กระจายของข่าวสารจึงไม่มีทางยับยั้งหรือปิดข่าวได้เลย เพราะ ด้วยเทคโนโลยีที่คนรับสารสามารถเป็นคนส่งสารได้ด้วย จึงไม่มีทางที่ วิธีการจัดการปัญหา แบบเดิม อย่างเช่นหาทางปิดปากสื่อ ไม่ให้หนังสื่อพิมพ์ลงข่าว ข่าวก็จะเงียบหายไป แบบเดิมๆ ไม่มีทางเป็นไปได้เลย

แต่วิธีการแก้ไขปัญหาของหมอเปรมกลับมองข้ามข้อเท็จจริงเหล่านี้ ยังใช้วิธีการแบบเดิมๆ คือพยายามปิดปากสื่อ และ ใช้สื่อของตัวเองในการอธิบายสร้างภาพให้กับตัวเอง เคลียปัญหาให้กับตัวเอง โดยมีรายงานข่าวว่า หมอเปรม แกใช้วิธีการพูดคุยอธิบายตัวเองผ่านหอกระจายข่าว หรือเสียงตามสายของเทศบาลบ้านไผ่ในการเคลียปัญหาที่เกิดขึ้น

ในขณะที่ชาวบ้าน มีวิธีการรับสาร ผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่านมือถือที่แทบทุกคนมีติดมือติดตัวกันเกือบทุกคน ทำให้สารที่ชาวบ้านที่รับจึงมีหลากหลาย และกว้างขวางกว่า การที่หมอเปรมคิดว่า การพูดผ่านระบบกระจายเสียง หรือหอข่าวจะทำให้ชาวบ้านเชื่อถือข้อมูลของตัวเองนั้น ถือว่ามีการประเมินที่ผิดพลาดมหันต์

ในอีกกรณี กรณี อบต.เหยียดสาวบริการปั๊มน้ำมัน ทันที่ที่เกิดปัญหา และมีการวิพากษ์วิจารณ์ บนโลกโซเซียลขนาดหนัก หัวหน้าของ อบต.หนุ่ม ออกมาแสดงบทบาท เป็นตัวกลาง นำหนุ่ม อบต.มาแสดงความรับผิดชอบ ขอโทษขออภัยน้องสาวบริการปั๊มน้ำมันทันที และเมื่อมีการนำไปเผยแพร่บนสื่อ อารมณ์ของคน การวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมจึงลดลงอย่างรวดเร็ว 

และแม้ว่าตัว หนุ่มอบต.นั้น จะไม่ยอมรับการกระทำโดยจริงใจก็ตาม เพราะในภายหลัง เมื่อทางผู้ว่าราชการเรียกไปพูดคุยและแถลงข่าว กลับพลิกลิ้นปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้โพสต์ภาพและข้อความ จนผู้ว่าฯโกรธและสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จนเจ้าตัวกลับลำยอมรับสารภาพว่าเป็นคนกระทำอีกครั้งก็ตาม ซึ่งการยอมรับทำให้อารมณ์ของสังคมโซเชียลลดลงพอสมควร

สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ มีความคิดความเชื่อพื้นฐานที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และน่าจะเป็นตัวอย่างเป็นบทเรียนหนึ่งของคนที่ควรรับรู้ถึงพลังของสื่อยุคใหม่ ที่ไม่มีทางที่การจัดการปัญหาแบบเดิมจะได้ผลอีกต่อไป....

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook