เส้นทางหลังประชามติ หากคนไทยเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง

เส้นทางหลังประชามติ หากคนไทยเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง

เส้นทางหลังประชามติ หากคนไทยเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เส้นทางหลังการออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559  หากประชาชนคนไทย เห็นชอบกับ "ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2559" และในส่วนของ "คำถามพ่วง" ประชาชน "เห็นชอบ" ด้วยเช่นกัน 

และคำถามตามมาคือ แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ...

เมื่อมาดู มาตรา 37/1 วรรค 7 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้การออกเสียงประชามติ "ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ"

ขยายความออกมาคือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน จากนั้นจะส่งศาลรัฐธรรมนูญตความใน 30 วัน และนายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าภายใน 30 วัน

ต่อมา คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญร่างกฏหมายลูก 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งให้ สนช.พิจารณากฏหมายภายใน 2 เดือน

ตามมาด้วยจะมีการเลือกตั้ง ในปี 2560 ตามโรดแมป 

ในส่วนของ คำถามพ่วง หากประชาชนเห็นชอบ จะมีการนำคำถามพ่วงมาปรับและบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ (สาระของคำถามพ่วง ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 ปีแรก นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งและมีรัฐสภาชุดแรก ระยะเวลา 5 ปีแรก หมายถึง รัฐสภาจะได้เลือกนายกรัฐมนตรีอย่างน้อย 2 คน คำถามพ่วงนี้จะขัดกับร่างรัฐธรรมนูญ หากประชาชนเห็นชอบคำถามนี้ ยังต้องไปแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญต่ออีก) ข้อมูลจาก prachamati.org

แม้ผลนับคะแนนจะออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า คนไทย "เห็นชอบ" กับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง

จากปรากฏการณ์นี้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 กล่าวว่า จากผลคะแนนมีแนวโน้มผ่านประชามติทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนต้องการเห็นการเดินหน้าประเทศ และกลไกการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากนับคะแนนแล้วเสร็จและผลคะแนนยังคงเป็นเช่นนี้ สนช. และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐสภาชุดใหม่ รวมไปถึงรัฐบาลชุดใหม่ก็จะต้องสืบทอดภารกิจในการปฏิรูปประเทศต่อไป (ข้อมูลจาก innnews)

ในด้านเศรษฐกิจมีผลดี 

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เบื้องต้นผลการนับคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการออกมารับร่างฯ จากนี้ต่อไป ประเทศไทยก็ยังคงเดินหน้าต่อในการบริหารประเทศ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลทำตามโรดแมปที่วางไว้ เพื่อเข้าสู่กระบวนการนำพาประเทศสู่ประชาธิปไตย ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและการลงทุนคาดว่าจะดีขึ้นมากกว่าปัจจุบัน ซึ่งหากไม่มีการประท้วงรุนแรง และรัฐบาลสามารถเดินหน้าได้ตามโรดแมปจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยระยะยาว"

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook