เปิดใจ "หมอก้อง สรวิชญ์" เมื่อผมเป็นข้าราชการของในหลวง

เปิดใจ "หมอก้อง สรวิชญ์" เมื่อผมเป็นข้าราชการของในหลวง

เปิดใจ "หมอก้อง สรวิชญ์" เมื่อผมเป็นข้าราชการของในหลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ได้ชื่อว่าเป็นราชการก็เป็นข้ารับใช้ท่านข้าของแผ่นดิน แล้วเรารับเงินเดือนมันก็ต้องทำหน้าที่ให้มันดีที่สุด"

นี่เป็นปณิธานอันแน่วแน่ของ "หมอก้อง" หรือ "พันตรีนายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญ" ข้าราชการประจำการอในสำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หลังได้มีโอกาสเดินตามรอยพ่อหลวง ไปออกหน่วยแพทย์อาสา และจากการเดินทางที่แสนยากลำบากครั้งหนึ่ง กลับทำให้หมอก้องเกิดสำนึกในความเป็นข้าราชการใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ จึงสัญญากับตัวเองว่าจะเป็นข้ารับใช้แผ่นดินและรับใช้ประชาชน

ความดีในหลวงทำให้ผมต้องเป็นข้าราชการที่ดี

"ที่ผมได้ประสบการณ์การเป็นข้าราชการเพราะว่าผมเลวมาก่อน พอด้เจอเรื่องดีๆ มันก็เลยจดจำเยอะ คือถ้าเป็นคนปกติธรรมดาทั่วไปที่เขาไม่ได้เลวเหมือนผม ไปเจอเรื่องดีๆ เขาก็แค่ประทับใจ แต่ของผมด้วยความที่จิตมันต่ำมากมันเลวมาก เกเรมาก แต่ตอนนั้นไม่สนอะไรเวรก็โดด อ้างโน่นอ้างนี้ แต่จริงๆ แล้วไปทำเรื่องส่วนตัวจะเอาแต่งานตัวเองโดยไม่เอางานข้าราชการเวลาออกหน่วยอาสาก็พยายามหลีกเลี่ยง"

"รู้สึกไม่อยากไปจ้างคนโน่นคนนี้ไปแทนบ้าง แต่ถ้าจวนตัวจริงๆ ก็ต้องไป และพอมีโอกาสเลือกจะได้ไปไหนก็เลยเลือกไปใกล้ๆ ไปเพชรบุรี และไปเจอความลำบากตรงการเดินทางมันแตกต่างจากภาพที่เราคิด แล้วก็บ่นๆ ตลอดทาง และก็ไปเจอเป็นจุดเปลี่ยนความคิดและชีวิตผมเลยปากเราก็บอกว่าเราเทิดทูนพระองค์ท่าน ว่าเรารักในหลวงเหลือเกิน รักอย่างนั้นรักอย่างนี้ แต่การกระทำเรากลับสวนทางทุกอย่าง"

"พอเราได้เห็นจริงๆ ว่าคนที่อยู่สูงที่สุดกลับลงมาทำอะไรที่ติดดินที่สุด และก็เหนื่อยยากที่สุดซึ่งแม้แต่เราเองยังไม่อยากทำเราเองยังเหนื่อย เรายังปฏิเสธที่จะทำสารพัด เหนื่อยที่สุดแต่ท่านทำหมด แล้วนี่ท่านลงมาสอนให้เห็นเหตุการณ์จริงๆ เลยมันเลยรู้สึกว่าพูดไม่ออกมันจุกมากความคิดผมมันก็เปลี่ยนมองเห็นคนอื่นมากขึ้น เพราะราชการก็เป็นข้ารับใช้ท่านข้าของแผ่นดิน แล้วเรารับเงินเดือนมันก็ต้องทำหน้าที่ให้มันดีที่สุด"

หลังจากเรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์การทำงานหมอทหารทำให้ หมอก้อง ได้เห็นตัวอย่างการทำงานของในหลวงในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้เขาได้เลือกใช้ชีวิตตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

"ท่านเป็นต้นแบบทุกอย่าง คำพูดที่ท่านพูดแนวพระราชดำริหรือแนวพระราชดำรัสทุกอย่างไม่ต้องพิสูจน์นะครับ เพราะท่านทำให้ดูหมดแล้ว และไม่ใช่เพิ่งทำเพราะทำมาจนมั่นใจว่าดีถึงเอาให้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยก็คือเรื่องความพอเพียงง่ายๆ เลย ขนาดท่านให้มาหมดแบบนี้แล้วตัวผมเองที่คิดว่าผมฉลาดนักหนายังเพิ่งจะมาเข้าใจคำว่าพอเพียงว่าคำว่าพอเพียงคืออะไร"

"และหลายคนก็ชอบเอาไปตีความว่าคำว่าพอเพียงต้องใช้ชีวิตแบบจนไม่ใช่พอเพียงไม่ได้หมายความว่าอยู่แบบจนต้องอยู่แบบลำบากไม่ใช่ คำว่าพอเพียงคือการอยู่ตามอัตภาพของตน พอเพียงในสิ่งตนมี อย่างผมต้องกินต้องใช้อะไรผมก็กินใช้ตามพอเหมาะพอควรกับตัวเรา อย่าเกินตัวคือมีกิน มีเก็บ และสุดท้ายมีแบ่งปัน นี่คือคำว่าพอเพียง"

"สังเกตได้การแบ่งปันพระองค์ท่านเป็นผู้ให้มาตลอด พระองค์ท่านเป็นตนแบบทุกอย่างไม่ต้องมองที่อื่นมองพระองค์ ท่าน ทำให้เห็นๆ เลย ประโยชน์ของการให้คือการละออกจากตัวเอง ละความเลว ความเห็นแก่ตัว ด้วยการให้เป็นทาน พอเรารู้จักการให้ทานแล้วความโลภเราจะน้อยและเราก็จะมองเห็นคนอื่นมากกว่าตัวเรา อยากจะให้คนอื่นมีความสุข และตัวเราเองก็จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง จะมองเห็นความชั่วความเลวของตัวเองมากขึ้น และก็พร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองครับ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook