เผยเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่เสวย "ปลานิล"

เผยเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่เสวย "ปลานิล"

เผยเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่เสวย "ปลานิล"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากหนังสือ "ใกล้เบื้องพระยุคลบาท กับ ลัดดาซุบซิบ" ตีพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2549 หน้า 41 ระบุว่า ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย

จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญกราบบังคมทูลถามว่า

"เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล"

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีกระแสรับสั่งว่า

"ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร"

สำหรับตำนานของปลานิล เกิดขึ้นเมื่อ 35 ปีที่แล้ว หรือปีพ.ศ.2524 เมื่อครั้งพระจักรพรรดิอากิฮิโต ยังทรงฐานันดรศักดิ์เป็นมกุฎราชกุมาร ได้ส่งปลานิลทางเครื่องบินจำนวน 100 ตัว มาทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ปรากฏว่า เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทยปลานิลตายเกือบหมด เหลือรอดชีวิตเพียง 10 ตัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นห่วงปลานิลเหล่านี้ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำไปไว้ในพระที่นั่ง และทรงเลี้ยงอย่างประคบประหงม จนปลานิลทั้ง 10 ตัวรอดชีวิต

ปัจจุบันปลานิลทั้ง 10 ตัวนั้นได้แพร่พันธุ์เป็นอาหารให้คนไทยเกือบ 70 ล้านคนและมีแนวโน้มความต้องการบริโภคปลานิลสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปลานิลเป็นปลาที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก มีโปรตีนสูงถึง 5.69 กรัมต่อน้ำหนักหนึ่งออนซ์ แถมยังมีโอเมกา 3 (Omega 3 fatty Acid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะช่วยลดคลอเรสโตรอลในเลือดได้

นอกจากนี้ปลานิลยังมีค่าสะสมของสารปรอทต่ำ เนื่องจากเป็นปลาที่มีอายุสั้น คือยังไม่ทันสะสมสารปรอทก็โตจนกินได้แล้ว และเป็นปลาที่กินแต่พืชจึงไม่มีความเสี่ยงต่อสารปรอท ปลานิลเป็นปลาที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีแคลอรี่น้อยกินแล้วไม่อ้วน ไม่มีคาร์โบรไฮเดรทและโซเดียมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและร่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9 - 10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่งบริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตรอกอยู่โดยทั่วไป

ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสาย พันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ได้ปลา นิลสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 3 สายพันธุ์ ดังนี้

1. ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธ์ แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ 7 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 22 %

2. ปลานิลสายพันธุ์จิตลดา 2 (Genetically Male Tilapi : GMT) เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเป็น "YY" ที่เรียกว่า "YY - Male" หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปรกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2 " ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น "XY" ส่วนหัวเล็กลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 - 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2 - 3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45 %

3. ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 3 (Genetically Improvied Farmed Tilapia Line: GIFT) เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่างๆที่เกิดจาก การผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่นๆ อีก 7 สายพันธุ์ ได้แก่ อียิปต์ กานา เคนยา สิงคโปร์ เซเนกัล อิสราเอล และไต้หวันซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่างๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน

จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1 - 5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ 5 เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงปลาพันธุ์ดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ 2 ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 " ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 - 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3 - 4 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40 %

4. ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 4 ได้จากการคัดปลานิลสายพันธุ์ GIFE ของหน่วยงาน WorldFish แล้วกรมประมง นำมาคัดลักษณะเด่นอีกครั้ง จนได้ปลาสีเทาดำคล้ายกับปลานิลทั่วไป แต่ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา เนื้อมาก เจริญเติบโตเร็วกว่าปลานิลทั่วไป 20-30 เปอร์เซ็นต์ อายุ 6-8 เดือน จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 500- 800 กรัม และตัวโตกว่า วิธีการเลี้ยง สามารถเลี้ยงได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยไม่เกิน 5 พีพีทีค่าพีเอช หรือความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 6-8 โดยให้อาหารเม็ด

สูตรสำหรับเลี้ยงปลานิลหรือปลาดุกได้ ให้ผลผลิตสูงกว่าปลานิลทั่วไป ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกร สามารถนำปลานิลสายพันธุ์ใหม่นี้ ไปเลี้ยงขุนได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน ทางศูนย์วิจัยฯ มีทั้งปลานิลจิตรลดา 4 ที่แปลงเพศแล้ว และยังไม่แปลงเพศไว้จำหน่าย หากเกษตรกรเลี้ยงจนได้พ่อแม่พันธุ์ สามารถให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งจะวางไข่ทั้งปี ทุกๆ 15 วัน เฉลี่ยแม่พันธุ์ตัวละ 200-1,000 ฟองต่อครั้ง (โตเร็วให้ผลผลิตสูง)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook