ย้อนรำลึกพระอัจฉริยภาพทางการสื่อสารในสยามของ รัชกาลที่ ๕

ย้อนรำลึกพระอัจฉริยภาพทางการสื่อสารในสยามของ รัชกาลที่ ๕

ย้อนรำลึกพระอัจฉริยภาพทางการสื่อสารในสยามของ รัชกาลที่ ๕
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องจากวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวันปิยมหาราช เพื่อเป็นการรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ทีมงานจะพาคุณผู้อ่านมาดูถึงข้อมูลว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเริ่มต้นเกี่ยวกับการสื่อสารของประเทศไทยอย่างไร

- การไปรษณีย์ / โทรเลข

ในสมัยก่อนตั้งแต่โบราณ การติดต่อสื่อสารของคนในสมัยนั้นต้องใช้การเดินทางไปมาหาสู่กัน ทำให้ไม่ทันยุคทันสมัย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ จึงได้เริ่มใช้จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดแรกที่มีการใช้ไปรษณีย์ ครั้งแรกเมื่อในปีพุทธศักราช ๒๔๑๒ 

แต่เมื่อเริ่ม การทำงานก็ยังไม่สะดวกเต็มที่ เนื่องจากป่าไม้มีอยู่เป็นจำนวนมากทำให้ไม่สะดวกในการส่งโทรเลข 


ต่อมากระทรวงกลาโหมได้มาจัดทำเองทำให้ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเริ่มเปิดดำเนินการได้ประสบความสำเร็จ สามารถส่งสายจากกรุงเทพ ถึง สมุทรปราการเป็นระยะทาง  ๔๕ กิโลเมตร และยังมีการวางสายอีกหลายตำแหน่ง จนกระทั่ง ทรงโปรดเกล้าฯ จัดตั้งกรมไปรษณีย์ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๖

ต่อมาในปีพุทธศักราช  ๒๔๔๑  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ให้รวมการไปรษณีย์ และ การโทรเลขเข้าด้วยกันจนพร้อมชื่อใหม่ว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข” ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานนี้ก็คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

- การนำโทรศัพท์เข้ามาใช้งานในครั้งแรกของประเทศไทย

การนำโทรศัพท์มาใช้ครั้งแรกนั้นเกิดขึ้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๔  กระทรวงกลาโหมได้นำไปติดตั้งใช้งานในจังหวัดกรุงเทพฯ  ถึง สมุทรปราการ และใช้เวลาสร้างสาธารณูปโภคเป็นเวลา 3 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ครั้งแรกในในปีพุทธศักราช ๒๔๒๙ 

กรมโทรเลขได้รับโอนและเข้าตั้งโทรศัพท์กลางในกรุงเทพฯ ทำให้มีการเปิดให้ประชาชนทั่วไป พร้อมกับบริษัทห้างร้าน และหน่วยงานราชการ เช่าโทรศัพท์เพื่อติดต่อสื่อสารกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

ทุกวันนี้ไม่แปลกใจว่า เทคโนโลยีที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากในช่วงเวลาของรัชกาลที่ 5 ทั้งสิ้น จึงทำให้คนไทยทั้งหลายล้วนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประเทศไทยและประชาชนคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

ที่มา : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook