พระอัจฉริยภาพ : ด้านศิลปะ
ด้านศิลปะ - จิตรกรรม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมภาพวาดฝีพระหัตถ์เป็นแบบภาพเหมือน โดยทรงศึกษาและเขียนจากต้นแบบจริงต่อมาจึงเริ่มมีผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่มีลักษณะการตัดทอนรูปทรงจากแนวเหมือนจริงแสดงออกถึงรูปทรง และไร้รูปทรงหรือนามธรรม ตลอดจนกึ่งนามธรรมและในระยะต่อมาทรงเริ่มเขียนแบบฉับพลัน ที่เรียกว่า แบบเอ็กเพรสชันนิสซึ่ม
- ประติมากรรม
ผลงานประติมากรรมฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่สำคัญคือประติมากรรมลอยตัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถครึ่งพระองค์ สูง 12 นิ้ว และประติมากรรมหญิงเปลือยนั่งคุกเข่าสูง 9 นิ้วที่ทรงปั้นด้วยดินน้ำมันนอกจากนี้ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในโอกาสต่างๆเช่น พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล และทรงแกะแบบแม่พิมพ์พระพิมพ์ที่เรียกกันว่าสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดินทรงบรรจุผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยพระองค์เองโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและเมื่อพ.ศ.2503 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้าง พระพุทธนวราชบพิตรพระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศเชิญไปประดิษฐานเพื่อความเป็นสิริมงคล
- การถ่ายภาพ
ทรงเชี่ยวชาญการถ่ายภาพทั้งกล้องธรรมดาและกล้องถ่ายภาพยนตร์ในระยะแรกทรงถ่ายภาพด้วยกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัวจึงต้องทรงคำนวณความเร็วของแสงด้วยพระองค์เอง จนสามารถวัดแสงได้อย่างแม่นยำทรงประดิษฐ์แผ่นกรองแสงขึ้นเองที่เรียกว่า Bicolocer Filter ตั้งแต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยทั้งยังทรงเชี่ยวชาญในการล้างฟิล์มอัดขยายภาพขาวดำและภาพสีเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆจะทรงถ่ายภาพด้วยพระองค์เองตามพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้โดยเฉพาะในการพัฒนาประเทศ
ขอบคุณข้อมูล สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงาน กสทช.
เครดิตภาพ สำนักพระราชวัง และ เพจเฟสบุ๊ค Information Division of OHM